วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิจัยที่เหลือ 1 เรื่อง ดังนี้

ชื่อวิจัย : การส่งเสริมทักศะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย  
( The promotion of science and the conclusion for children )



         จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มทำกิจกรรม กลุ่มละ 5 คน ทำแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ชี้แจงการสอนหน่วย ไก่

ขั้นตอนการทำแผ่นพับ

1.ส่วนด้านนอก  ประกอบด้วย

ภาพที่ 1 (หน้าปก)
  • ตราโรงเรียน
  • ชื่อโรงเรียน
  • ชื่อหน่วย
  • รูปภาพเกี่ยวกับหน่วยที่สอน
  • ชื่อนักเรียนและครูประจำชั้น
ภาพที่ 3 (หน้าหลังสุด) 
  • เกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน เช่น เพลง คำคล้องจอง เกมจับคู่ เกมภาพตัดต่อ เป็นต้น ควรเป็นเกมที่ผู้ปกครองสามารถนำไปใช้เล่นกับลูกได้


2. ส่วนด้านใน ประกอบด้วย
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • วัตถุประสงค์
  • สาระการเรียนรู้
  •  เพลง คำคล้องจอง ที่เกี่ยวกับหน่วยที่สอน


การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       จากการออกแบบแผ่นพับ ทำให้ได้รู้เทคนิคในการเขียนที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสามารถนำวิธีการเขียนแผ่นพับไปใช้ในอนาคตได้ สามารถนำไปเป็นสื่อในการส่งข่าวประชาสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้เรื่องเด็กได้เรียนในแต่ละครั้ง

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       -  การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นทักษะการคิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดร่วมกัน เป็นการดึงการมีส่วนร่วมและประสบการณ์เดิมมาใช้
       -  การบูรณาวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็ก
       -  ให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเองและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
       -  การสรุปความรู้ต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ในการทำงานกลุ่มในวันนี้มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มโดยการแสดงความคิดเห็นในส่วนต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ ในวันนี้เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี ทุกกลุ่มมีความตั้งใจช่วยกันคิดวิธีการเขียนแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนให้มีความน่าสนใจและถูกต้องเหมาะสม
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้แนะนำวิธีการทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนของแต่ละกลุ่มได้ละเอียดและชัดเจน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถทำแผ่นพับออกมาได้สมบูรณ์ อาจมีข้อบกพร่องในการเขียนบ้างแต่จะนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเขียนให้ดีขึ้นค่ะ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


นำเสนอวิจัย
1. การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
3. การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
4. ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย


สรุปเป็น Mind Map  ดังนี้



นำเสนอโทรทัศน์ครู
1.จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนเสียงมาจากไหน 
2.สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3.เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
4.กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
5.สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6.ขวดปั๊มและลิปเทียน
7.สื่อแสงแสนสนุก
8.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
9.ทะเลฟองสีรุ้ง
10.สาดสีสุดสนุก
11.ทอนาโดมหาภัย
12.ไข่ในน้ำ
13.ความลับของใบบัว


สรุปเป็น Mind Map  ดังนี้



การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้หรือสามารถนำความรู้จากกิจกรรมไปบูรณาการเข้ากับรายวิชาอื่นได้  สามารถประยุกต์การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และดัดแปลงสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์และการสังเกต การวิเคราะห์  ให้คำแนะนำวิธีการดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดหรือบูรณาการในรายวิชาอื่นได้

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะเพื่อนนำเสนอวิจัย โทรทัศน์ และเข้าใจในกิจกรรมที่เพื่อนนำมาเสนอ
  • Friends-Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  มีการเตรียมการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูมาเป็นอย่างดี ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนาน
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและสามารถนำไปบูรณาการการเรียนการสอนกับรายวิชาอื่นได้

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 14
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


          อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งประเภทของเล่นวิทยาศาสตร์


การเกิดเสียง ( Noise )


แรงลม/อากาศ ( Wind / air )


พลังงาน ( Energy )


จุดศูนย์ถ่วง ( The center of gravity )


จัดเข้ามุม


แรงดันน้ำ ( Water pressure )


การนำเสนอวิจัย 4 เรื่อง สรุปเป็น Mind Map ดังนี้


ชื่อวิจัย
3.  ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
4.  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ำด้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน


          จากนั้นอาจารย์ทำกิจกรรม Cooking  การทำขนม วาฟเฟิล

อุปกรณ์ ( Equipment )
-   แป้ง ( Flour ) 
-   เนย ( Butter )
-   ไข่ไก่ ( Egg )
-   น้ำ ( Water )
-   ถ้วย ( Cup )
-   จาน ( Stove )
-   ช้อน ( Spoon )
-   ที่ตีไข่ ( Whisk )
-   เครื่องทำวาฟเฟิล 


ขั้นตอนการทำ 
1. นำแป้ง ไข่ไก่ น้ำใส่ลงไปในถ้วย ตีส่วนผสมให้เข้ากัน
2. ใส่เนยแล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
3. เมื่อตีวัตถุดิบเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก
4. ทาเนยที่เตาแล้วหยอดวัตถุดิบในถ้วยลงไป 
5. เมื่ออบจนได้ที่แล้วจึงนำมารับประทาน





การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       สามารถนำวิธีการทำวาฟเฟิล ไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนแผนการเรียนการสอนเรื่องการประกอบอาหารได้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การชั่งตวงในการใส่ส่วนผสม

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       อาจารย์ให้นักศึกษาสืบค้นวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยตนเองและนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียนเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ซึ่งกันและกัน ฝึกให้มีความกล้าแสดงออก การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดและได้ลงมือปฎิบัติจริงในการทำกิจกรรม

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะเพื่อนนำเสนอวิจัยและให้ความร่วมมือในการทำวาฟเฟิลกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ  มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและการสอนทำวาฟเฟิลซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

           อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิจัย 7 เรื่อง ดังนี้

1. เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา



2. เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน  
SCIENCE BASIC SKILLS OF YOUNG CHILDREN ENGAGED IN EXPERIMENTAL ACTIVITY AFTER STORY LISTENING )



3. เรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
(YOUNG CHILDREN’S SCIENCE PROCESS SKILLS ON THE CHILD AS RESEARCHERS LEARNING TECHNIQUE )



4. เรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
( The result of providing natural color learning activity on young children scientific basic skills )



5. เรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ 
( Science process skills of preschool children participated in process emphasized art activities )




6. เรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
( Preschool children's critical thinking though science activities)



7. เรื่อง การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์




การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       นำความรู้จากวิจัยเรื่องการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสม และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กได้อย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกต การลงมือปฎิบัติ 

วิธีการสอน ( Teaching methods )

       -  ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
       -  การเชื่อมโยงกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
       -  ให้นักศึกษาได้สืบค้นวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะเพื่อนนำเสนอวิจัย
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ  มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดีและร่วมกันแสดงความคิดเห็น
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวันข้างหน้าได้

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

เรื่อง  การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
( A  STUDY  OF  MULTIPLE  INTELLIGENCES  ABILITIES  OF  YOUNG  CHILDREN  ENHANCING  SCIENCE  PROCESS  ACTIVITIES )

ผู้วิจัย  :  พิมพ์พรรณ ทองประสิทธิ์ ( PIMPUN  THONGPRASIT )


ความมุ่งหมายของการวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1.ด้านภาษา 2.ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ 3.ด้านมิติสัมพันธ์ 4.ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5.ด้านดนตรี 6.ด้านความเข้าใจตนเอง 7.ด้านความเข้าใจผู้อื่น และ8.ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของการวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สมมติฐานของการวิจัย
          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความสามารถทางพหุปัญญาในด้านต่างๆสูงขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
          1.ประชากรแลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
             1.1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                   ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชายหญิงที่อายุระหว่าง 5-6ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1
             1.2.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 จำนวน 15คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive sample) โดยเลือกจากคะแนนของนักเรียนที่วัดได้จากแบบวัดพัฒนาการด้านสติปัญญาระดับอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ที่มีคะแนนระดับปานกลางและต่ำ
          2.ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
             การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ๆละ 3ครั้งๆ ละ 60 นาที รวม 24 ครั้ง
วิธีดำเนินการวิจัย
           การวิจัยครั้งนี้ มีวิธีการดังนี้
           1.ก่อนการทดลอง ผู้วิจัยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปกติเป็นระยะเวลา 3 ครั้งๆละ 60 นาที ผู้ช่วยวิจัยทำการสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียนที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญา แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาคะแนนพื้นฐาน (Baseline) ของพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาแต่ละด้านของเด็กปฐมวัย
          2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง โดยการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นเวลาครั้งละ 60 นาที เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 60 นาทีรวม 24 ครั้ง
          3.ในช่วงเวลาทดลองผู้ช่วยวิจัยทำการสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญา จากการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในช่วงสัปดาห์ที่ 2,4,6 และ8 โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างคะแนนของพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาแต่ละด้านของเด็กปฐมวัยเพื่อนำไปแปลความหมายต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
          การวิเคราะห์ข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้
             1.หาค่าสถิติพื้นฐานของพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละด้าน ในแต่ละช่วงสัปดาห์ (สัปดาห์ละ 2,4,6 และ 8) โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาคะแนนเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) และความเบี่ยงเบนมาครฐาน (Standard Deviation)
             2.นำข้อมูลที่ได้มาแสดงเป็นเส้นภาพ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละด้าน
             3.วิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละด้านก่อนการจัดกิจรรมในช่วงเวลาจัดกิจกรรม และในระหว่างสัปดาห์โดยใช้สถิติการทดสอบสมมติฐาน The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test
สรุปผลการวิจัย
               เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้าน ได้แก่ ความสามารถทางด้านภาษา ความสามารถทางด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์  ความสามารถทางด้านมิติสัมพันธ์  ความสามารถทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว  ความสามารถทางด้านดนตรี  ความสามารถทางด้านความเข้าใจผู้อื่น  ความสามารถทางด้านความเข้าใจตนเองและ ความสามารถทางด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกช่วงของการเปรียบเทียบ และ ความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้าน มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สูงขึ้น ตลอดช่วงเวลาของการจัดกิจกรรม



สรุปความลับของอากาศ



         อากาศ ( Atmosphere )  คือ ส่วนผสมของก๊าซต่างๆ และไอน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบๆตัวเราทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและแม้แต่ในที่จอดรถใต้ดินอากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติและไมีมีกลิ่นอากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
         อากาศจะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อยแต่บางเวลาเคลื่อนที่มากกว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศชื้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่าย เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น
         ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรีบกว่า พายุ ซึ่งพายุนั้นจะเรียกแตกต่างไปตามแหล่งทวีปโลกและตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงบ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเ็นจำนวนมาก
          อุณหภูมิ ( temperature ) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศสเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์
         อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไวโอเลตช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก              
         มนุษย์จึงมีการนำเรื่องของหลักการแรงดันอากาศมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้หลอดดูด การผลิตเครื่องบิน อากาศจึงมีความสำคัญต่อเรามากนอกจากจะใช้หลายใจแล้ว อากาศยังทำให้เกิดลมและเรายังใช้คุณสมบัติของอากาศมาใช้เป็นหลักการสร้างสิ่งประดิษฐ์อีกมากมาย


วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 12
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

      วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ที่ได้รับหมอบหมาย ดังนี้

กลุ่มที่ 1    เรื่อง ชนิดของกล้วย ( Banana ) 



ขั้นนำ  ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงกล้วย จากนั้น ครูถามทบทวนเพื่อทดสอบการจำ
ขั้นสอน  ครูนำภาพกล้วยแต่ละชนิดให้เด็กๆ สังเกตว่า รูปที่ครูถืออยู่นั้นคือกล้วยอะไร
ขั้นสรุป ครูทบทวนเกี่ยวกับชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ

คำแนะนำของอาจารย์ : สำหรับสื่อที่นำมาใช้ในการสอน ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง หรืออาจจะใช้รูปภาพที่น่าสนใจกว่านี้ด้วยการทำรูปภาพที่เปิด-ปิดได้ ไม่ควรใช้มือปิดตัวหนังสือ



กลุ่มที่ 2    เรื่อง ลักษณะของไก่ ( Character of Chicken ) 




VDO นำเสนอการสอน


       ครูนำภาพส่วนประกอบของไก่ให้เด็กดู จากนั้น ครูนำภาพไก่แจ้และไก่ต๊อกให้เด็กๆ สังเกต สี ขนาด และส่วนประกอบ ครูใช้คำถามถามตอบกับเด็ก โดยให้ส่งตัวแทนออกมาหยิบส่วนประกอบของไก่ไปวางให้ถูกต้องจนครบ จากนั้น ครูให้เด็กเปรียบเทียบความเหมือนต่างของไก่แจ้และไก่ต๊อก แล้วครูบันทึกลงในแผนภูมิ

คำแนะนำของอาจารย์ : ขั้นนำ ครูอาจจะใช้จิ๊กซอว์ให้เด็กต่อภาพ เช่น ให้เด็กๆ ลองหลับตาจากนั้นครูแจกภาพตัดต่อให้เด็กนำมาต่อกัน จะทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ไม่ควรเริ่มด้วยการเขียนส่วนประกอบของไก่มาก่อน เพราะจะทำให้เด็กไม่เกิดกระบวนการคิด และแผนภูมิวงกลมควรเขียนความสัมพันธ์เหมือนก่อนจึงเขียนความสัมพันธ์ต่าง



กลุ่มที่ 3    เรื่อง  การดำรงชีวิตของกบ  ( life of a frog )


      ครูเปิด VDO Life of frog วงจรชีวิตของกบให้เด็กๆ ดู จากนั้น ครูทบทวนเนื้อหาจาก VDO พร้อมนำภาพวงจรชีวิตของกบให้เด็กๆ

คำแนะนำของอาจารย์ : สื่อที่ใช้ในการสอนควรมีขนาดใหญ่ เพื่อให้เด็กสามารถมองเห็นชัดเจนและทั่วถึง


VDO Life of frog



กลุ่มที่ 4    เรื่อง ประโยชน์ของปลา ( Benefits of Fish )


     ครูเล่านิทานเรื่อง " ฟูงปลากับชาวปรมง " ให้เด็กๆฟัง เมื่อเล่านิทานจบ ครูใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา ครูนำคำตอบติดลงไปในแผ่นกราฟฟิค และทบทวนสรุปความรู้ให้กับเด็กๆ

คำแนะนำของอาจารย์ : จากการเล่านิทานอาจจะมีภาพให้เด็กๆ ดูประกอบ และนิทานบางประโยคอาจจะมีการเล่าที่แตกต่างไม่ควรเล่าแต่คำซ้ำๆกัน



กลุ่มที่ 5    เรื่อง ข้าว (การประกอบอาหาร)




       ครูแนะนำส่วนประกอบในการทำเมนูข้าวคลุกไข่ให้กับเด็กๆ  ครูสาธิตขั้นตอนการทำพร้อมให้ตัวแทนเด็กเป็นออกมาทำข้าวคลุกไข่ และให้เด็กคนอื่นๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อทำเสร็จแล้วให้เด็กร่วมกันชิมรสชาติ

คำแนะนำของอาจารย์ : ควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาให้พร้อม หั่นใส่ถ้วยให้เรียบร้อย ให้เด็กมีส่วนร่วมในการหยิบส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตคาดคะเนสิ่งที่จะใส่ลงไป



กลุ่มที่ 6    เรื่อง  ชนิดของต้นไม้ ( tree )


       ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ และทบทวนโดยการถามเด็กว่า ในคำคล้องจองมีต้นไม้ชนิดใดบ้าง จากนั้นครูนำภาพต้นไม้ให้เด็กๆดู และให้เด็ก ๆ ออกมานับว่าต้นไม้พุ่มและต้นไม้ยืนต้นมีอย่างละกี่ต้น และติดเลขฮินดูอารบิก

คำแนะนำของอาจารย์ : ควรปรับปรุงสื่อการสอนให้มีความชัดเจนกว่านี้ เพราะเด็กไม่สามารถแยกออกเนื่องจากภาพมีขนาดเล็กเกินไป


กลุ่มที่ 7    เรื่อง  ลักษณะของนม  ( Characteristics of milk )



       ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ

                               ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่มดื่มนมกันเถอะ
                               ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
                               ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
                               ดื่มนมเยอะๆ ร่างกายแข็งแรง

       ครูให้เด็กสังเกตสีของนม จากนั้น เริ่มการทดลองโดยการเทนมลงไปในจานแล้วหยดสีและน้ำยาล้างจาน พบว่า เมื่อหยดน้ำยาล้างจานลงไปสีที่อยู่ในจานจะเคลื่อนไหวไปมา

คำแนะนำของอาจารย์ : ควรสอนในเรื่องลักษณะให้มากกว่านี้และควรร้องเพลงให้เสียงดังและสนุก



กลุ่มที่ 8     เรื่อง  การดูแลรักษาน้ำ ( Water Treatment )




         ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง อย่าทิ้ง

                               อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง
                               ทิ้งแล้วจะสกปรก
                               ถ้าเราเห็นมันรก
                               ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ

        จากนั้น ครูเล่านิทานเรื่อง หนูนิด ซึ่งเป็นนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ เนื้อเรื่องจะพูดถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำเน่าเสีย ครูให้เด็กๆ ช่วยกันคิดหาวิธีการอนุรักษ์น้ำ และให้เด็กช่วยกันออกแบบและตกแต่งป้ายห้ามทิ้งขยะร่วมกัน

คำแนะนำของอาจารย์ : ครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง



กลุ่มที่ 9     หน่วย มะพร้าว ( ประโยชน์และข้อพึงระวัง )


         ครูร้องเพลงและเล่านิทาน โดยมีภาพการปลูกมะพร้าวให้เด็ก ๆ ดู พร้อมอธิบายภาพประกอบ  
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรสอนในเรื่องใกล้ตัวเพื่อให้เด็กเข้าใจมากกว่านี้ อาจให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงหรือใช้การเรียนรู้นอกสถานที่



กลุ่มที่ 10    หน่วย ผลไม้ ( การประกอบอาหาร )


        ครูแนะนำส่วนประกอบต่างๆ ในการทำผลไม้ผัดเนย จากนั้นครูให้เด็กๆมีส่วนร่วมโดยการออกมาหยิบผลไม้ใส่ลงไปในกะทะ เมื่อทำเสร็จแล้ว ครูให้เด็กร่วมกันชิมรสชาติ
คำแนะนำของอาจารย์ : ครูควรแก้ปัญหาเมื่อเด็กยืนมุงกัน ทำให้เด็กๆ คนอื่นมองไม่เห็น




การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
        สามารถนำความรู้ในเรื่องการเขียนแผนการสอนและการสอนแผน การรู้จักการออกแบบการสอนโดยมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย และการเลือกเพลงหรือการแต่งเพลงและนิทานที่จะนำมาใช้ในการสอนต้องเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาที่สอน  ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ หรือในอนาคตได้ 

วิธีการสอน ( Teaching methods )

       - ใช้เทคนิคการสอนแบบสาธิต 
       - ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
       - ให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติและทำกิจกรรมด้วยตนเอง

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติกิจกรรม การสอนแผนในวันนี้ทำได้ยังไม่ค่อยดี อาจารย์ได้ให้คำแนะนำซึ่งจะนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการสอนแผนให้ดียิ่งขึ้น
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
สรุปบทความ ( article )

เรื่อง  " ปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู " 
เรื่องเล่าจากห้องเรียนคุณครูกษมาพร เข็มสันเทียะ 
Cick  ( ฉบับเต็ม )



              วันนี้จะพาไปโรงเรียนชุมชนบ้านไผ่ยิ่งยงอุทิศ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ชั้นเรียนอนุบาล ณ โรงเรียนนี้ คุณครูกษมาพร เข็มสันเทียะ ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการปฐมวัยแบบโครงงาน (Project-Based Learning) เรื่อง “ปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู” เพื่อให้นักเรียนอนุบาลสามารถเข้าใจ รู้จัก และรับรู้เรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว แบบสะเต็มศึกษา
               รูกษมาพร เล่าว่า ภาคอีสานในแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ในชื่อเรียก “ฮีตสิบสองคลองสิบสี่” ฮีตสิบสอง คือ ประเพณี 12 เดือนของชาวอีสานที่แตกต่างจากประเพณี 12 เดือนหลายประเพณีของภาคอื่น ส่วนคลองสิบสี่ คือ แนววิถีที่ดีที่ควรปฏิบัติ 14 ประการ จึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาถ่ายทอดสู่เด็กๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

          ระยะที่ 1 กิจกรรรมนำไปสู่การเริ่มโครงงาน ครูเล่าเรื่องตำนาน “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” และเล่าเรื่องตำนาน “บุญข้าวจี่” ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนสาม โดยมีคุณตาวิชัย อุปแก้ว วิทยากรท้องถิ่น มาช่วยเล่าร่วมด้วย ครูและเด็กร่วมกันจัดกลุ่มคำถามตรวจสอบความรู้เดิมจากคำถามเพื่อหาคำตอบ เด็กๆ ส่วนใหญ่สนใจเรื่องเกี่ยวกับข้าวจี่ โดยให้เหตุผลว่า อยากลองกินข้าวจี่เหมือนลูกสาวคนเล็กของเจ้าเมืองไผ่เก่า และร่วมกันกำหนดชื่อหัวข้อทำการสืบเสาะหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปั้นข้าวจี่
          ระยะที่ 2 กิจกรรมที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้วย การกระตุ้นให้เด็กร่วมกำหนดวิธีการและวางแผนหาคำตอบ เด็กๆ ช่วยกันคิดหาแนวทางหรือวิธีการสืบเสาะหาคำตอบ เช่น จากสารคดี ตำนานบุญข้าวจี่ หนังสือตำนานของดีอีสาน แผนภูมิรูปภาพการทำข้าวจี่ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต สอบถามผู้รู้ ดูของจริง จากนั้น ได้แบ่งกลุ่มตามความสนใจประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ข้าวจี่ใส่อะไรบ้าง กลุ่มที่ 2 ข้าวจี่มีประโยชน์อย่างไร และกลุ่มที่ 3 ข้าวจี่ทาอย่างไร
          การช่วยเหลือเด็กในการหาคำตอบตามวิธีการหรือแผนที่ร่วมกันกำหนด เด็กๆ กลุ่มที่ 1 มีสมาชิกประกอบด้วย พีใหญ่ ซันเด ณัฐ ต้นกล้า เมฆ เดินทางเข้าไปในหมู่บ้านหน้าโรงเรียนเพื่อสอบถามผู้รู้ คือ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ผู้เฒ่า ผู้แก่ ...ว่าข้าวจี่ใส่อะไรบ้าง ส่วนสมาชิกกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย ฟอง ฟ้าใส โอโม้ แม็ค ยิ้ม บีม ไข่มุก ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ บุญข้าวจี่ที่วัดโพธิ์ชัยโสภณ มีชาวบ้านพากันมาตักบาตรข้าวจี่ในวันเพ็ญเดือนสาม และกลุ่มที่ 3 มี ข้าวฟ่าง การ์ตูน แพรวา เนย ไนท์ ชมพู่ ได้เชิญคุณแม่พิสมัย บุษราคัม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาสอนขั้นตอนการทำปั้นข้าวจี่        
           ระยะที่ 3 กิจกรรมที่เด็กมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อสาร นำเสนอ มีการกระตุ้นให้เด็กร่วมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยได้รวบรวมข้อมูล จากการสืบค้น สัมภาษณ์ สอบถามผู้รู้ ดูของจริง บันทึกคำพูดของเด็กทั้งหมดที่เด็กได้ถามและสนทนากันจนทำให้เกิดองค์ความรู้ เกิดเป็นแผนภูมิที่ 1 ข้าวจี่ใส่อะไรบ้าง แผนภูมิที่ 2 ข้าวจี่มีประโยชน์อย่างไร แผนภูมิที่ 3 ข้าวจี่ทำอย่างไร
            เด็กๆ นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าเรื่องราวของตนเองที่ได้ไปสืบเสาะหาความรู้จนค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง สื่อสาร สะท้อนผลการสืบเสาะหาความรู้ และร่วมกันกำหนดชื่อโครงงานใหม่ว่า “ปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู” จากองค์ความรู้ที่ได้รับครูอยากให้สมาชิกทุกคนทุกกลุ่มสร้างชิ้นงานโดยการออกแบบสร้างผลงานใหม่เป็นรูปแบบที่ตนเองชอบ สร้างแบบจำลอง วาดภาพ ออกแบบ สื่อสาร สะท้อนผลการสืบเสาะหาความรู้ เด็กๆ แสดงบทบาทสมมุติทำข้าวจี่ฝีมือหนูเอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 
          กลุ่มที่ 1 กลุ่มเด็กผู้ชาย เลือกใช้เตาถ่าน ข้อค้นพบของกลุ่มเด็กผู้ชาย คือ ลมจะช่วยให้ไฟติดง่ายขึ้น ใช้ไม้ยาวเสียบจะได้ไม่ร้อนมือ เตาถ่านร้อนมากเกินไปทำให้ข้าวจี่ไหม้ ได้ข้าวจี่หลากหลายรูปแบบ รูปทรง
          กลุ่มที่ 2 กลุ่มเด็กผู้หญิง เลือกใช้เตาปิ้งไฟฟ้า ข้อค้นพบก็คือ ถ้าข้าวจี่สุกก็จะส่งกลิ่นหอมให้รู้ เตาปิ้งไฟฟ้าไม่มีควัน มีปุ่มปรับความร้อน ใช้ไม้เสียบจะง่ายเวลาทาไข่ และไม่ร้อนมือเวลาจับ ความร้อนทำให้ข้าวเหนียวเปลี่ยนเป็นข้าวจี่ (สีคุณลักษณะ รูป รส กลิ่น)
          จากนั้น เด็กๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ปรับปรุงผลงาน จัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน ต่อเพื่อน น้อง คุณครู และผู้ปกครอง
          ในส่วนของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย การสังเกตการกิจกรรม การบันทึกคาถาม คาตอบ คาพูด การบันทึกภาพจากการนาเสนอผลงาน การบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ การแสดงบทบาทสมมติ การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน โครงงานข้าวจี่ฝีมือหนู

          การจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการบูรณาการการเรียนรู้ ตามแนวทาง “สะเต็มศึกษา” (STEM Education : Science Technology Engineering and Mathematics Education) ที่เด็กวัยอนุบาลก็เรียนรู้กันได้ง่ายๆ โดย ด้านวิทยาศาสตร์นั้น มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การตั้งคำถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการสืบเสาะหาคำตอบ ทักษะการคิด การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลและหลากหลาย สามารถค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

   


สรุปโทรทัศน์ครู

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ตอน ความลับของใบบัว Cick


กิจกรรม
           คุณครูมีใบไม้ให้เด็กๆดู ให้เด็กๆตอบว่าเป็นใบไม้อะไร จากนั้นให้เด็กๆ ลองจับสัมผัสที่ใบบัวว่าเป็นอย่างไร และให้บอกว่าข้างหน้ากับข้างหลังของใบบัวแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
การทดลองที่ 1   ครูหยดน้ำใส่ด้านหลังของใบบัวให้เด็กๆ สังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น จากนั้นให้หงายมาที่ด้านหน้าของใบบัวแล้วหยดน้ำลงไป ให้เด็กๆ สังเกตน้ำที่อยู่บนใบบัวขณะเคลื่อนไหวใบบัวจะเกิดอะไรขึ้น แล้วครูถามเด็กๆ ว่า น้ำซึมเข้าใบบัวไหม  แล้วเมื่อเอาน้ำใส่เข้าไปบนใบบัวแล้วใบบัวเปียกไหม 
การทดลองที่ 2   ครูเปลี่ยนจากน้ำเป็นน้ำผึ้ง ครูตักน้ำผึ้งใส่ลงไปบนใบบัว ให้เด็กๆ สังเกตว่าน้ำผึ้งที่อยู่บน    ใบบัวจะเป็นอย่างไรบ้าง  จากนั้นครูเทน้ำผึ้งออกจากใบบัวแล้วให้เด็กๆ สังเกตว่าน้ำผึ้งติดที่ใบบัวไหม
การทดลองที่ 3   ครูหยดนมใส่บนใบบัวให้เด็กๆ สังเกตว่าทำไมใบบัวถึงไม่ยอมเปียก
การทดลองที่ 4   ครูเอาใบไม้ชนิดอื่นมาให้เด็กๆทดลองว่าจะมีคุณสมบัติเหมือนกับใบบัวหรือเปล่า โดยเปลี่ยนจากใบบัวเป็นใบกล้วย ครูหยดน้ำลงไปบนใบกล้วย ให้เด็กๆ สังเกตการเคลื่อนตัวของน้ำบนใบกล้วยว่าเหมือนกับใบบัวไหม        
            
           ทั้งนี้เป็นเพราะว่า พื้นผิวของใบบัวมีคุณสมบัติพิเศษทำให้ของเหลวไม่สามารถเกาะที่ใบได้ 
            
           ความลับอยู่ตรงโครงสร้างขนาดเล็กของพื้นผิวด้านบนของใบบัวมีความขรุขระ มีปุ่มขนาดเล็กๆจำนวนมาก แถมยังปกคลุมด้วยสารที่มีความมัน จึงทำให้ใบบัวมีคุณสมบัติที่ไม่เปียกน้ำ  เราเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า  “ ปรากฏการณ์น้ำกลิ้งบนใบบัวหรือ Lotus Effect “  ปรากฏการณ์น้ำกลิ้งบนใบบัวนี้เองที่ทำให้มนุษย์คิดค้นวิธีการทำพื้นผิวที่มีความสามารถในการกันน้ำ เช่น สีทาบ้าน ที่กันน้ำและทำความสะอาดตัวเองได้หรือเสื้อผ้ากันน้ำ




วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 30 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยให้นักศึกษาทุกคนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

กิจกรรมที่ 1  การจมการลอย

       ให้ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปวงกลมขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป  ดังรูป



         จากนั้น ให้แถวที่ 1-2 นำดินน้ำมันออกมาหย่อนลงไปในโหลแก้ว พบว่า ดินน้ำมันจะจมลงไปข้างล่าง เพราะดินน้ำมันมีมวลมากจึงไม่สามารถลอยน้ำได้ 



          ให้แถวที่ 3-4 หาวิธีปั้นดินน้ำมันอย่างไรก็ได้ที่ไม่ทำให้ดินน้ำมันจมน้ำ ดิฉันจึงเลือกปั้นดินน้ำที่มีลักษณะคล้ายแอ่งหรือถ้วยที่มีความบาง 


          เมื่อนำไปหย่อนลงไปในโหล พบว่า ดินน้ำมันลอยน้ำ เนื่องจากดินน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยลง



การทดลองที่ 2  ดอกไม้บาน
     
1. ตัดกระดาษให้เป็น 4ส่วนเท่าๆกัน 
2. พับกระดาษ 2ทบ
3. วาดรูปดอกไม้กึ่งกลางกระดาษ แล้วใช้กรรไกรตัดตามรอยที่วาด
4. เมื่อคลี่ออกมาจะได้รูปดอกไม้ ดังรูปที่4


ระบายสีตกแต่งดอกไม่ให้สวยงาม ดังรูป


จากนั้น พับกลีบดอกไม้เข้ามา ดังรูป


นำดอกไม้มาวางในโหลที่มีน้ำ


ผลการทดลอง (The experimental results)
     ถ้าใช้กระดาษแข็ง :: เมื่อวางดอกไม้บนน้ำ กลีบดอกจะค่อยๆคลี่ออก แล้วค่อยๆจมลงน้ำและสีของดอกไม้จะละลายน้ำ
     ถ้าใช้กระดาษA4 :: เมื่อวางดอกไม้บนน้ำ กลีบดอกจะคลี่ออกเร็วกว่าการใช้กระดาษแข็งลอย และสีของดอกไม้จะละลายน้ำเป็นเส้น

     * น้ำซึมเข้าไปในเยื้อกระดาษ จึงทำให้กระดาษค่อยๆบานออกมาในที่สุด 

กิจกรรมที่ 3   แรงดันน้ำ





การทดลอง (trial)
      นำขวดพลาสติกมาเจาะรู 3ระดับ (บน กลาง ล่าง) จากนั้น นำเทปกาวมาปิดรูที่เจาะไว้แล้วเทน้ำลงไปให้เต็มขวดแล้วปิดฝาขวด
1.เปิดเทปกาวรูที่ 1 ด้านบนสุดออก พบว่า ถ้าปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหล แต่ถ้าเปิดฝาขวดน้ำจะค่อยๆไหลออกตามรู 
2.เปิดเทปกาวรูที่ 2 ตรงกลางออก พบว่า น้ำไหลพุ่งแรกกว่ารูที่1
3.เปิดเทปกาวรูที่ 3 ด้านล่างสุดออก พบว่า น้ำไหลพุ่งแรงกว่ารูที่ 1 และรูที่ 2

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเด็ก
      เด็ก ๆ สามารถเรียนเกี่ยวกับปรากฎการณ์ เรื่องความดันน้ำได้หลายอน่าง เช่น เมื่อเปิดก๊อกน้ำไหลออกจากถังเก็บในที่สูงๆ น้ำจะค่อยๆ ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก


กิจกรรมที่ 4  การไหลของน้ำ


การทดลอง (trial)
    เจาะรูที่ขวดน้ำ 1 รู ต่อสายยางและให้ปลายสายยางอีกข้างมีภาชนะรองรับน้ำ จะสังเกตได้ว่า ถ้าขวดน้ำอยู่สูงกว่าภาชนะที่รองรับน้ำ น้ำจะพุ่งออกมาคล้ายน้ำพุ แต่ถ้าวางขวดน้ำให้อยู่ต่ำกว่าภาชนะรองรับน้ำ น้ำจะไม่ไหลออกมา

ผลการทดลอง (The experimental results)
      น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำและมีแรงดันออกมาเป็นเหมือนน้ำพุ


กิจกรรมที่ 5  แก้วดับเทียน



อุปกรณ์ (equipment)
- แก้วน้ำ
- ไม้ขีดไฟ
- เทียน
- โหลแก้ว
การทดลอง  (trial)
1.นำเทียนไขมา 1 แท่ง แก้วน้ำ 1 ใบ ไม้ขีดไฟ 1 กลัก แล้วจุดเทียนให้ติดไฟตั้งไฟไว้ให้มั่นคง
2.นำแก้วน้ำมาครอบเทียนไขที่จุดไว้
ผลการทดลอง (The experimental results)
      จะพบว่า เมื่อเรานำแก้วมาครอบเทียนไข เปลวไฟจะค่อยๆหรี่ลงๆ จนในที่สุดเทียนไขจะดับ เพราะในอากาศมีออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติช่วยที่ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไปเทียนจะสามารถส่องสว่างต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่ง จนเมื่อออกซิเจนถูกเผาไหม้หมด เทียนไขก็จะดับลงทันที


Example VDO การทดลอง



กิจกรรมที่ 6  ปากกาขยาย




การทดลอง  (trial)
1.เทน้ำใส่แก้ว
2.เอาปากกาใส่ลงไปในแก้วน้ำ

ปรากฎการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสง
1. การมองเห็นวัตถุที่อยู่ในน้ำหักงอ เช่น เห็นหลอดหรือช้อนที่อยู่ในแก้วน้ำมีลักษณะหักงอผิดความจริง
2. การมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ำอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง เช่น เวลามองปลาที่อยู่ในน้ำ จะมองเห็นว่าปลาอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง
3. เมื่อมองวัตถุผ่านน้ำไปยังอากาศ จะเห็นวัตถุอยู่ไกลกว่าความเป็นจริง




การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
        สามารถนำความรู้จากการทดลองวิทยาศาสตร์ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนที่จัดให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน จะฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือ รู้จักแบ่งปันสื่งของ และรู้จักการรอคอย

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       อาจารย์ให้นักศึกษาทดลองวิทยาศาสตร์ด้วยการลงมือปฎิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง มีการใช้คำถาม การยกตัวอย่างประกอบและให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การสังเกต เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดร่วมกัน  

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟัง ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์และจดบันทึกตาม
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและมีน้ำใจในการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน 
  • Teacher-Evaluation : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสนุกสนานกับกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้