วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิจัยที่เหลือ 1 เรื่อง ดังนี้

ชื่อวิจัย : การส่งเสริมทักศะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย  
( The promotion of science and the conclusion for children )



         จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มทำกิจกรรม กลุ่มละ 5 คน ทำแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ชี้แจงการสอนหน่วย ไก่

ขั้นตอนการทำแผ่นพับ

1.ส่วนด้านนอก  ประกอบด้วย

ภาพที่ 1 (หน้าปก)
  • ตราโรงเรียน
  • ชื่อโรงเรียน
  • ชื่อหน่วย
  • รูปภาพเกี่ยวกับหน่วยที่สอน
  • ชื่อนักเรียนและครูประจำชั้น
ภาพที่ 3 (หน้าหลังสุด) 
  • เกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน เช่น เพลง คำคล้องจอง เกมจับคู่ เกมภาพตัดต่อ เป็นต้น ควรเป็นเกมที่ผู้ปกครองสามารถนำไปใช้เล่นกับลูกได้


2. ส่วนด้านใน ประกอบด้วย
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • วัตถุประสงค์
  • สาระการเรียนรู้
  •  เพลง คำคล้องจอง ที่เกี่ยวกับหน่วยที่สอน


การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       จากการออกแบบแผ่นพับ ทำให้ได้รู้เทคนิคในการเขียนที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสามารถนำวิธีการเขียนแผ่นพับไปใช้ในอนาคตได้ สามารถนำไปเป็นสื่อในการส่งข่าวประชาสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้เรื่องเด็กได้เรียนในแต่ละครั้ง

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       -  การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นทักษะการคิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดร่วมกัน เป็นการดึงการมีส่วนร่วมและประสบการณ์เดิมมาใช้
       -  การบูรณาวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็ก
       -  ให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเองและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
       -  การสรุปความรู้ต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ในการทำงานกลุ่มในวันนี้มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มโดยการแสดงความคิดเห็นในส่วนต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ ในวันนี้เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี ทุกกลุ่มมีความตั้งใจช่วยกันคิดวิธีการเขียนแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนให้มีความน่าสนใจและถูกต้องเหมาะสม
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้แนะนำวิธีการทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนของแต่ละกลุ่มได้ละเอียดและชัดเจน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถทำแผ่นพับออกมาได้สมบูรณ์ อาจมีข้อบกพร่องในการเขียนบ้างแต่จะนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเขียนให้ดีขึ้นค่ะ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


นำเสนอวิจัย
1. การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
3. การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
4. ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย


สรุปเป็น Mind Map  ดังนี้



นำเสนอโทรทัศน์ครู
1.จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนเสียงมาจากไหน 
2.สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3.เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
4.กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
5.สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6.ขวดปั๊มและลิปเทียน
7.สื่อแสงแสนสนุก
8.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
9.ทะเลฟองสีรุ้ง
10.สาดสีสุดสนุก
11.ทอนาโดมหาภัย
12.ไข่ในน้ำ
13.ความลับของใบบัว


สรุปเป็น Mind Map  ดังนี้



การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้หรือสามารถนำความรู้จากกิจกรรมไปบูรณาการเข้ากับรายวิชาอื่นได้  สามารถประยุกต์การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และดัดแปลงสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์และการสังเกต การวิเคราะห์  ให้คำแนะนำวิธีการดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดหรือบูรณาการในรายวิชาอื่นได้

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะเพื่อนนำเสนอวิจัย โทรทัศน์ และเข้าใจในกิจกรรมที่เพื่อนนำมาเสนอ
  • Friends-Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  มีการเตรียมการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูมาเป็นอย่างดี ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนาน
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและสามารถนำไปบูรณาการการเรียนการสอนกับรายวิชาอื่นได้

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 14
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


          อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งประเภทของเล่นวิทยาศาสตร์


การเกิดเสียง ( Noise )


แรงลม/อากาศ ( Wind / air )


พลังงาน ( Energy )


จุดศูนย์ถ่วง ( The center of gravity )


จัดเข้ามุม


แรงดันน้ำ ( Water pressure )


การนำเสนอวิจัย 4 เรื่อง สรุปเป็น Mind Map ดังนี้


ชื่อวิจัย
3.  ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
4.  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ำด้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน


          จากนั้นอาจารย์ทำกิจกรรม Cooking  การทำขนม วาฟเฟิล

อุปกรณ์ ( Equipment )
-   แป้ง ( Flour ) 
-   เนย ( Butter )
-   ไข่ไก่ ( Egg )
-   น้ำ ( Water )
-   ถ้วย ( Cup )
-   จาน ( Stove )
-   ช้อน ( Spoon )
-   ที่ตีไข่ ( Whisk )
-   เครื่องทำวาฟเฟิล 


ขั้นตอนการทำ 
1. นำแป้ง ไข่ไก่ น้ำใส่ลงไปในถ้วย ตีส่วนผสมให้เข้ากัน
2. ใส่เนยแล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
3. เมื่อตีวัตถุดิบเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก
4. ทาเนยที่เตาแล้วหยอดวัตถุดิบในถ้วยลงไป 
5. เมื่ออบจนได้ที่แล้วจึงนำมารับประทาน





การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       สามารถนำวิธีการทำวาฟเฟิล ไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนแผนการเรียนการสอนเรื่องการประกอบอาหารได้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การชั่งตวงในการใส่ส่วนผสม

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       อาจารย์ให้นักศึกษาสืบค้นวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยตนเองและนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียนเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ซึ่งกันและกัน ฝึกให้มีความกล้าแสดงออก การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดและได้ลงมือปฎิบัติจริงในการทำกิจกรรม

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะเพื่อนนำเสนอวิจัยและให้ความร่วมมือในการทำวาฟเฟิลกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ  มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและการสอนทำวาฟเฟิลซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

           อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิจัย 7 เรื่อง ดังนี้

1. เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา



2. เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน  
SCIENCE BASIC SKILLS OF YOUNG CHILDREN ENGAGED IN EXPERIMENTAL ACTIVITY AFTER STORY LISTENING )



3. เรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
(YOUNG CHILDREN’S SCIENCE PROCESS SKILLS ON THE CHILD AS RESEARCHERS LEARNING TECHNIQUE )



4. เรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
( The result of providing natural color learning activity on young children scientific basic skills )



5. เรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ 
( Science process skills of preschool children participated in process emphasized art activities )




6. เรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
( Preschool children's critical thinking though science activities)



7. เรื่อง การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์




การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       นำความรู้จากวิจัยเรื่องการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสม และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กได้อย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกต การลงมือปฎิบัติ 

วิธีการสอน ( Teaching methods )

       -  ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
       -  การเชื่อมโยงกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
       -  ให้นักศึกษาได้สืบค้นวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะเพื่อนนำเสนอวิจัย
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ  มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดีและร่วมกันแสดงความคิดเห็น
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวันข้างหน้าได้

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

เรื่อง  การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
( A  STUDY  OF  MULTIPLE  INTELLIGENCES  ABILITIES  OF  YOUNG  CHILDREN  ENHANCING  SCIENCE  PROCESS  ACTIVITIES )

ผู้วิจัย  :  พิมพ์พรรณ ทองประสิทธิ์ ( PIMPUN  THONGPRASIT )


ความมุ่งหมายของการวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1.ด้านภาษา 2.ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ 3.ด้านมิติสัมพันธ์ 4.ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5.ด้านดนตรี 6.ด้านความเข้าใจตนเอง 7.ด้านความเข้าใจผู้อื่น และ8.ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของการวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สมมติฐานของการวิจัย
          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความสามารถทางพหุปัญญาในด้านต่างๆสูงขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
          1.ประชากรแลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
             1.1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                   ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชายหญิงที่อายุระหว่าง 5-6ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1
             1.2.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 จำนวน 15คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive sample) โดยเลือกจากคะแนนของนักเรียนที่วัดได้จากแบบวัดพัฒนาการด้านสติปัญญาระดับอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ที่มีคะแนนระดับปานกลางและต่ำ
          2.ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
             การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ๆละ 3ครั้งๆ ละ 60 นาที รวม 24 ครั้ง
วิธีดำเนินการวิจัย
           การวิจัยครั้งนี้ มีวิธีการดังนี้
           1.ก่อนการทดลอง ผู้วิจัยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปกติเป็นระยะเวลา 3 ครั้งๆละ 60 นาที ผู้ช่วยวิจัยทำการสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียนที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญา แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาคะแนนพื้นฐาน (Baseline) ของพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาแต่ละด้านของเด็กปฐมวัย
          2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง โดยการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นเวลาครั้งละ 60 นาที เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 60 นาทีรวม 24 ครั้ง
          3.ในช่วงเวลาทดลองผู้ช่วยวิจัยทำการสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญา จากการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในช่วงสัปดาห์ที่ 2,4,6 และ8 โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างคะแนนของพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาแต่ละด้านของเด็กปฐมวัยเพื่อนำไปแปลความหมายต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
          การวิเคราะห์ข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้
             1.หาค่าสถิติพื้นฐานของพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละด้าน ในแต่ละช่วงสัปดาห์ (สัปดาห์ละ 2,4,6 และ 8) โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาคะแนนเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) และความเบี่ยงเบนมาครฐาน (Standard Deviation)
             2.นำข้อมูลที่ได้มาแสดงเป็นเส้นภาพ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละด้าน
             3.วิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละด้านก่อนการจัดกิจรรมในช่วงเวลาจัดกิจกรรม และในระหว่างสัปดาห์โดยใช้สถิติการทดสอบสมมติฐาน The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test
สรุปผลการวิจัย
               เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้าน ได้แก่ ความสามารถทางด้านภาษา ความสามารถทางด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์  ความสามารถทางด้านมิติสัมพันธ์  ความสามารถทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว  ความสามารถทางด้านดนตรี  ความสามารถทางด้านความเข้าใจผู้อื่น  ความสามารถทางด้านความเข้าใจตนเองและ ความสามารถทางด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกช่วงของการเปรียบเทียบ และ ความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้าน มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สูงขึ้น ตลอดช่วงเวลาของการจัดกิจกรรม



สรุปความลับของอากาศ



         อากาศ ( Atmosphere )  คือ ส่วนผสมของก๊าซต่างๆ และไอน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบๆตัวเราทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและแม้แต่ในที่จอดรถใต้ดินอากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติและไมีมีกลิ่นอากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
         อากาศจะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อยแต่บางเวลาเคลื่อนที่มากกว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศชื้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่าย เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น
         ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรีบกว่า พายุ ซึ่งพายุนั้นจะเรียกแตกต่างไปตามแหล่งทวีปโลกและตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงบ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเ็นจำนวนมาก
          อุณหภูมิ ( temperature ) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศสเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์
         อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไวโอเลตช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก              
         มนุษย์จึงมีการนำเรื่องของหลักการแรงดันอากาศมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้หลอดดูด การผลิตเครื่องบิน อากาศจึงมีความสำคัญต่อเรามากนอกจากจะใช้หลายใจแล้ว อากาศยังทำให้เกิดลมและเรายังใช้คุณสมบัติของอากาศมาใช้เป็นหลักการสร้างสิ่งประดิษฐ์อีกมากมาย


วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 12
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

      วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ที่ได้รับหมอบหมาย ดังนี้

กลุ่มที่ 1    เรื่อง ชนิดของกล้วย ( Banana ) 



ขั้นนำ  ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงกล้วย จากนั้น ครูถามทบทวนเพื่อทดสอบการจำ
ขั้นสอน  ครูนำภาพกล้วยแต่ละชนิดให้เด็กๆ สังเกตว่า รูปที่ครูถืออยู่นั้นคือกล้วยอะไร
ขั้นสรุป ครูทบทวนเกี่ยวกับชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ

คำแนะนำของอาจารย์ : สำหรับสื่อที่นำมาใช้ในการสอน ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง หรืออาจจะใช้รูปภาพที่น่าสนใจกว่านี้ด้วยการทำรูปภาพที่เปิด-ปิดได้ ไม่ควรใช้มือปิดตัวหนังสือ



กลุ่มที่ 2    เรื่อง ลักษณะของไก่ ( Character of Chicken ) 




VDO นำเสนอการสอน


       ครูนำภาพส่วนประกอบของไก่ให้เด็กดู จากนั้น ครูนำภาพไก่แจ้และไก่ต๊อกให้เด็กๆ สังเกต สี ขนาด และส่วนประกอบ ครูใช้คำถามถามตอบกับเด็ก โดยให้ส่งตัวแทนออกมาหยิบส่วนประกอบของไก่ไปวางให้ถูกต้องจนครบ จากนั้น ครูให้เด็กเปรียบเทียบความเหมือนต่างของไก่แจ้และไก่ต๊อก แล้วครูบันทึกลงในแผนภูมิ

คำแนะนำของอาจารย์ : ขั้นนำ ครูอาจจะใช้จิ๊กซอว์ให้เด็กต่อภาพ เช่น ให้เด็กๆ ลองหลับตาจากนั้นครูแจกภาพตัดต่อให้เด็กนำมาต่อกัน จะทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ไม่ควรเริ่มด้วยการเขียนส่วนประกอบของไก่มาก่อน เพราะจะทำให้เด็กไม่เกิดกระบวนการคิด และแผนภูมิวงกลมควรเขียนความสัมพันธ์เหมือนก่อนจึงเขียนความสัมพันธ์ต่าง



กลุ่มที่ 3    เรื่อง  การดำรงชีวิตของกบ  ( life of a frog )


      ครูเปิด VDO Life of frog วงจรชีวิตของกบให้เด็กๆ ดู จากนั้น ครูทบทวนเนื้อหาจาก VDO พร้อมนำภาพวงจรชีวิตของกบให้เด็กๆ

คำแนะนำของอาจารย์ : สื่อที่ใช้ในการสอนควรมีขนาดใหญ่ เพื่อให้เด็กสามารถมองเห็นชัดเจนและทั่วถึง


VDO Life of frog



กลุ่มที่ 4    เรื่อง ประโยชน์ของปลา ( Benefits of Fish )


     ครูเล่านิทานเรื่อง " ฟูงปลากับชาวปรมง " ให้เด็กๆฟัง เมื่อเล่านิทานจบ ครูใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา ครูนำคำตอบติดลงไปในแผ่นกราฟฟิค และทบทวนสรุปความรู้ให้กับเด็กๆ

คำแนะนำของอาจารย์ : จากการเล่านิทานอาจจะมีภาพให้เด็กๆ ดูประกอบ และนิทานบางประโยคอาจจะมีการเล่าที่แตกต่างไม่ควรเล่าแต่คำซ้ำๆกัน



กลุ่มที่ 5    เรื่อง ข้าว (การประกอบอาหาร)




       ครูแนะนำส่วนประกอบในการทำเมนูข้าวคลุกไข่ให้กับเด็กๆ  ครูสาธิตขั้นตอนการทำพร้อมให้ตัวแทนเด็กเป็นออกมาทำข้าวคลุกไข่ และให้เด็กคนอื่นๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อทำเสร็จแล้วให้เด็กร่วมกันชิมรสชาติ

คำแนะนำของอาจารย์ : ควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาให้พร้อม หั่นใส่ถ้วยให้เรียบร้อย ให้เด็กมีส่วนร่วมในการหยิบส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตคาดคะเนสิ่งที่จะใส่ลงไป



กลุ่มที่ 6    เรื่อง  ชนิดของต้นไม้ ( tree )


       ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ และทบทวนโดยการถามเด็กว่า ในคำคล้องจองมีต้นไม้ชนิดใดบ้าง จากนั้นครูนำภาพต้นไม้ให้เด็กๆดู และให้เด็ก ๆ ออกมานับว่าต้นไม้พุ่มและต้นไม้ยืนต้นมีอย่างละกี่ต้น และติดเลขฮินดูอารบิก

คำแนะนำของอาจารย์ : ควรปรับปรุงสื่อการสอนให้มีความชัดเจนกว่านี้ เพราะเด็กไม่สามารถแยกออกเนื่องจากภาพมีขนาดเล็กเกินไป


กลุ่มที่ 7    เรื่อง  ลักษณะของนม  ( Characteristics of milk )



       ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ

                               ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่มดื่มนมกันเถอะ
                               ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
                               ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
                               ดื่มนมเยอะๆ ร่างกายแข็งแรง

       ครูให้เด็กสังเกตสีของนม จากนั้น เริ่มการทดลองโดยการเทนมลงไปในจานแล้วหยดสีและน้ำยาล้างจาน พบว่า เมื่อหยดน้ำยาล้างจานลงไปสีที่อยู่ในจานจะเคลื่อนไหวไปมา

คำแนะนำของอาจารย์ : ควรสอนในเรื่องลักษณะให้มากกว่านี้และควรร้องเพลงให้เสียงดังและสนุก



กลุ่มที่ 8     เรื่อง  การดูแลรักษาน้ำ ( Water Treatment )




         ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง อย่าทิ้ง

                               อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง
                               ทิ้งแล้วจะสกปรก
                               ถ้าเราเห็นมันรก
                               ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ

        จากนั้น ครูเล่านิทานเรื่อง หนูนิด ซึ่งเป็นนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ เนื้อเรื่องจะพูดถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำเน่าเสีย ครูให้เด็กๆ ช่วยกันคิดหาวิธีการอนุรักษ์น้ำ และให้เด็กช่วยกันออกแบบและตกแต่งป้ายห้ามทิ้งขยะร่วมกัน

คำแนะนำของอาจารย์ : ครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง



กลุ่มที่ 9     หน่วย มะพร้าว ( ประโยชน์และข้อพึงระวัง )


         ครูร้องเพลงและเล่านิทาน โดยมีภาพการปลูกมะพร้าวให้เด็ก ๆ ดู พร้อมอธิบายภาพประกอบ  
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรสอนในเรื่องใกล้ตัวเพื่อให้เด็กเข้าใจมากกว่านี้ อาจให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงหรือใช้การเรียนรู้นอกสถานที่



กลุ่มที่ 10    หน่วย ผลไม้ ( การประกอบอาหาร )


        ครูแนะนำส่วนประกอบต่างๆ ในการทำผลไม้ผัดเนย จากนั้นครูให้เด็กๆมีส่วนร่วมโดยการออกมาหยิบผลไม้ใส่ลงไปในกะทะ เมื่อทำเสร็จแล้ว ครูให้เด็กร่วมกันชิมรสชาติ
คำแนะนำของอาจารย์ : ครูควรแก้ปัญหาเมื่อเด็กยืนมุงกัน ทำให้เด็กๆ คนอื่นมองไม่เห็น




การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
        สามารถนำความรู้ในเรื่องการเขียนแผนการสอนและการสอนแผน การรู้จักการออกแบบการสอนโดยมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย และการเลือกเพลงหรือการแต่งเพลงและนิทานที่จะนำมาใช้ในการสอนต้องเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาที่สอน  ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ หรือในอนาคตได้ 

วิธีการสอน ( Teaching methods )

       - ใช้เทคนิคการสอนแบบสาธิต 
       - ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
       - ให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติและทำกิจกรรมด้วยตนเอง

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติกิจกรรม การสอนแผนในวันนี้ทำได้ยังไม่ค่อยดี อาจารย์ได้ให้คำแนะนำซึ่งจะนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการสอนแผนให้ดียิ่งขึ้น
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น