บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ที่ได้รับหมอบหมาย ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เรื่อง ชนิดของกล้วย ( Banana )
ขั้นนำ ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงกล้วย จากนั้น ครูถามทบทวนเพื่อทดสอบการจำ
ขั้นสอน ครูนำภาพกล้วยแต่ละชนิดให้เด็กๆ สังเกตว่า รูปที่ครูถืออยู่นั้นคือกล้วยอะไร
ขั้นสรุป ครูทบทวนเกี่ยวกับชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ
คำแนะนำของอาจารย์ : สำหรับสื่อที่นำมาใช้ในการสอน ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง หรืออาจจะใช้รูปภาพที่น่าสนใจกว่านี้ด้วยการทำรูปภาพที่เปิด-ปิดได้ ไม่ควรใช้มือปิดตัวหนังสือ
กลุ่มที่ 2 เรื่อง ลักษณะของไก่ ( Character of Chicken )
ครูนำภาพส่วนประกอบของไก่ให้เด็กดู จากนั้น ครูนำภาพไก่แจ้และไก่ต๊อกให้เด็กๆ สังเกต สี ขนาด และส่วนประกอบ ครูใช้คำถามถามตอบกับเด็ก โดยให้ส่งตัวแทนออกมาหยิบส่วนประกอบของไก่ไปวางให้ถูกต้องจนครบ จากนั้น ครูให้เด็กเปรียบเทียบความเหมือนต่างของไก่แจ้และไก่ต๊อก แล้วครูบันทึกลงในแผนภูมิ
คำแนะนำของอาจารย์ : ขั้นนำ ครูอาจจะใช้จิ๊กซอว์ให้เด็กต่อภาพ เช่น ให้เด็กๆ ลองหลับตาจากนั้นครูแจกภาพตัดต่อให้เด็กนำมาต่อกัน จะทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ไม่ควรเริ่มด้วยการเขียนส่วนประกอบของไก่มาก่อน เพราะจะทำให้เด็กไม่เกิดกระบวนการคิด และแผนภูมิวงกลมควรเขียนความสัมพันธ์เหมือนก่อนจึงเขียนความสัมพันธ์ต่าง
กลุ่มที่ 3 เรื่อง การดำรงชีวิตของกบ ( life of a frog )
ครูเปิด VDO Life of frog วงจรชีวิตของกบให้เด็กๆ ดู จากนั้น ครูทบทวนเนื้อหาจาก VDO พร้อมนำภาพวงจรชีวิตของกบให้เด็กๆ
คำแนะนำของอาจารย์ : สื่อที่ใช้ในการสอนควรมีขนาดใหญ่ เพื่อให้เด็กสามารถมองเห็นชัดเจนและทั่วถึง
กลุ่มที่ 4 เรื่อง ประโยชน์ของปลา ( Benefits of Fish )
ครูเล่านิทานเรื่อง " ฟูงปลากับชาวปรมง " ให้เด็กๆฟัง เมื่อเล่านิทานจบ ครูใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา ครูนำคำตอบติดลงไปในแผ่นกราฟฟิค และทบทวนสรุปความรู้ให้กับเด็กๆ
คำแนะนำของอาจารย์ : จากการเล่านิทานอาจจะมีภาพให้เด็กๆ ดูประกอบ และนิทานบางประโยคอาจจะมีการเล่าที่แตกต่างไม่ควรเล่าแต่คำซ้ำๆกัน
กลุ่มที่ 5 เรื่อง ข้าว (การประกอบอาหาร)
ครูแนะนำส่วนประกอบในการทำเมนูข้าวคลุกไข่ให้กับเด็กๆ ครูสาธิตขั้นตอนการทำพร้อมให้ตัวแทนเด็กเป็นออกมาทำข้าวคลุกไข่ และให้เด็กคนอื่นๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อทำเสร็จแล้วให้เด็กร่วมกันชิมรสชาติ
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาให้พร้อม หั่นใส่ถ้วยให้เรียบร้อย ให้เด็กมีส่วนร่วมในการหยิบส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตคาดคะเนสิ่งที่จะใส่ลงไป
กลุ่มที่ 6 เรื่อง ชนิดของต้นไม้ ( tree )
ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ และทบทวนโดยการถามเด็กว่า ในคำคล้องจองมีต้นไม้ชนิดใดบ้าง จากนั้นครูนำภาพต้นไม้ให้เด็กๆดู และให้เด็ก ๆ ออกมานับว่าต้นไม้พุ่มและต้นไม้ยืนต้นมีอย่างละกี่ต้น และติดเลขฮินดูอารบิก
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรปรับปรุงสื่อการสอนให้มีความชัดเจนกว่านี้ เพราะเด็กไม่สามารถแยกออกเนื่องจากภาพมีขนาดเล็กเกินไป
กลุ่มที่ 7 เรื่อง ลักษณะของนม ( Characteristics of milk )
ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่มดื่มนมกันเถอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มนมเยอะๆ ร่างกายแข็งแรง
ครูให้เด็กสังเกตสีของนม จากนั้น เริ่มการทดลองโดยการเทนมลงไปในจานแล้วหยดสีและน้ำยาล้างจาน พบว่า เมื่อหยดน้ำยาล้างจานลงไปสีที่อยู่ในจานจะเคลื่อนไหวไปมา
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรสอนในเรื่องลักษณะให้มากกว่านี้และควรร้องเพลงให้เสียงดังและสนุก
กลุ่มที่ 8 เรื่อง การดูแลรักษาน้ำ ( Water Treatment )
คำแนะนำของอาจารย์ : ครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง
กลุ่มที่ 9 หน่วย มะพร้าว ( ประโยชน์และข้อพึงระวัง )
การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
สามารถนำความรู้ในเรื่องการเขียนแผนการสอนและการสอนแผน การรู้จักการออกแบบการสอนโดยมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย และการเลือกเพลงหรือการแต่งเพลงและนิทานที่จะนำมาใช้ในการสอนต้องเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาที่สอน ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ หรือในอนาคตได้
วิธีการสอน ( Teaching methods )
- ใช้เทคนิคการสอนแบบสาธิต
- ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
- ให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติและทำกิจกรรมด้วยตนเอง
การประเมิน ( Evaluation )
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ที่ได้รับหมอบหมาย ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เรื่อง ชนิดของกล้วย ( Banana )
ขั้นสอน ครูนำภาพกล้วยแต่ละชนิดให้เด็กๆ สังเกตว่า รูปที่ครูถืออยู่นั้นคือกล้วยอะไร
ขั้นสรุป ครูทบทวนเกี่ยวกับชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ
คำแนะนำของอาจารย์ : สำหรับสื่อที่นำมาใช้ในการสอน ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง หรืออาจจะใช้รูปภาพที่น่าสนใจกว่านี้ด้วยการทำรูปภาพที่เปิด-ปิดได้ ไม่ควรใช้มือปิดตัวหนังสือ
กลุ่มที่ 2 เรื่อง ลักษณะของไก่ ( Character of Chicken )
VDO นำเสนอการสอน
คำแนะนำของอาจารย์ : ขั้นนำ ครูอาจจะใช้จิ๊กซอว์ให้เด็กต่อภาพ เช่น ให้เด็กๆ ลองหลับตาจากนั้นครูแจกภาพตัดต่อให้เด็กนำมาต่อกัน จะทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ไม่ควรเริ่มด้วยการเขียนส่วนประกอบของไก่มาก่อน เพราะจะทำให้เด็กไม่เกิดกระบวนการคิด และแผนภูมิวงกลมควรเขียนความสัมพันธ์เหมือนก่อนจึงเขียนความสัมพันธ์ต่าง
กลุ่มที่ 3 เรื่อง การดำรงชีวิตของกบ ( life of a frog )
ครูเปิด VDO Life of frog วงจรชีวิตของกบให้เด็กๆ ดู จากนั้น ครูทบทวนเนื้อหาจาก VDO พร้อมนำภาพวงจรชีวิตของกบให้เด็กๆ
คำแนะนำของอาจารย์ : สื่อที่ใช้ในการสอนควรมีขนาดใหญ่ เพื่อให้เด็กสามารถมองเห็นชัดเจนและทั่วถึง
VDO Life of frog
กลุ่มที่ 4 เรื่อง ประโยชน์ของปลา ( Benefits of Fish )
ครูเล่านิทานเรื่อง " ฟูงปลากับชาวปรมง " ให้เด็กๆฟัง เมื่อเล่านิทานจบ ครูใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา ครูนำคำตอบติดลงไปในแผ่นกราฟฟิค และทบทวนสรุปความรู้ให้กับเด็กๆ
คำแนะนำของอาจารย์ : จากการเล่านิทานอาจจะมีภาพให้เด็กๆ ดูประกอบ และนิทานบางประโยคอาจจะมีการเล่าที่แตกต่างไม่ควรเล่าแต่คำซ้ำๆกัน
กลุ่มที่ 5 เรื่อง ข้าว (การประกอบอาหาร)
ครูแนะนำส่วนประกอบในการทำเมนูข้าวคลุกไข่ให้กับเด็กๆ ครูสาธิตขั้นตอนการทำพร้อมให้ตัวแทนเด็กเป็นออกมาทำข้าวคลุกไข่ และให้เด็กคนอื่นๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อทำเสร็จแล้วให้เด็กร่วมกันชิมรสชาติ
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาให้พร้อม หั่นใส่ถ้วยให้เรียบร้อย ให้เด็กมีส่วนร่วมในการหยิบส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตคาดคะเนสิ่งที่จะใส่ลงไป
กลุ่มที่ 6 เรื่อง ชนิดของต้นไม้ ( tree )
ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ และทบทวนโดยการถามเด็กว่า ในคำคล้องจองมีต้นไม้ชนิดใดบ้าง จากนั้นครูนำภาพต้นไม้ให้เด็กๆดู และให้เด็ก ๆ ออกมานับว่าต้นไม้พุ่มและต้นไม้ยืนต้นมีอย่างละกี่ต้น และติดเลขฮินดูอารบิก
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรปรับปรุงสื่อการสอนให้มีความชัดเจนกว่านี้ เพราะเด็กไม่สามารถแยกออกเนื่องจากภาพมีขนาดเล็กเกินไป
กลุ่มที่ 7 เรื่อง ลักษณะของนม ( Characteristics of milk )
ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่มดื่มนมกันเถอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มนมเยอะๆ ร่างกายแข็งแรง
ครูให้เด็กสังเกตสีของนม จากนั้น เริ่มการทดลองโดยการเทนมลงไปในจานแล้วหยดสีและน้ำยาล้างจาน พบว่า เมื่อหยดน้ำยาล้างจานลงไปสีที่อยู่ในจานจะเคลื่อนไหวไปมา
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรสอนในเรื่องลักษณะให้มากกว่านี้และควรร้องเพลงให้เสียงดังและสนุก
กลุ่มที่ 8 เรื่อง การดูแลรักษาน้ำ ( Water Treatment )
ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง อย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง
ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก
ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ
จากนั้น ครูเล่านิทานเรื่อง หนูนิด ซึ่งเป็นนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ เนื้อเรื่องจะพูดถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำเน่าเสีย ครูให้เด็กๆ ช่วยกันคิดหาวิธีการอนุรักษ์น้ำ และให้เด็กช่วยกันออกแบบและตกแต่งป้ายห้ามทิ้งขยะร่วมกัน
กลุ่มที่ 9 หน่วย มะพร้าว ( ประโยชน์และข้อพึงระวัง )
ครูร้องเพลงและเล่านิทาน โดยมีภาพการปลูกมะพร้าวให้เด็ก ๆ ดู พร้อมอธิบายภาพประกอบ
คำแนะนำของอาจารย์ : ควรสอนในเรื่องใกล้ตัวเพื่อให้เด็กเข้าใจมากกว่านี้ อาจให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงหรือใช้การเรียนรู้นอกสถานที่
กลุ่มที่ 10 หน่วย ผลไม้ ( การประกอบอาหาร )
ครูแนะนำส่วนประกอบต่างๆ ในการทำผลไม้ผัดเนย จากนั้นครูให้เด็กๆมีส่วนร่วมโดยการออกมาหยิบผลไม้ใส่ลงไปในกะทะ เมื่อทำเสร็จแล้ว ครูให้เด็กร่วมกันชิมรสชาติ
คำแนะนำของอาจารย์ : ครูควรแก้ปัญหาเมื่อเด็กยืนมุงกัน ทำให้เด็กๆ คนอื่นมองไม่เห็นการนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
สามารถนำความรู้ในเรื่องการเขียนแผนการสอนและการสอนแผน การรู้จักการออกแบบการสอนโดยมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย และการเลือกเพลงหรือการแต่งเพลงและนิทานที่จะนำมาใช้ในการสอนต้องเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาที่สอน ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ หรือในอนาคตได้
วิธีการสอน ( Teaching methods )
- ใช้เทคนิคการสอนแบบสาธิต
- ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
- ให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติและทำกิจกรรมด้วยตนเอง
การประเมิน ( Evaluation )
- Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติกิจกรรม การสอนแผนในวันนี้ทำได้ยังไม่ค่อยดี อาจารย์ได้ให้คำแนะนำซึ่งจะนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการสอนแผนให้ดียิ่งขึ้น
- Friends-Evaluation : แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี
- Teacher-Evaluation : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น