วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ ( article )

เรื่อง  " ปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู " 
เรื่องเล่าจากห้องเรียนคุณครูกษมาพร เข็มสันเทียะ 
Cick  ( ฉบับเต็ม )



              วันนี้จะพาไปโรงเรียนชุมชนบ้านไผ่ยิ่งยงอุทิศ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ชั้นเรียนอนุบาล ณ โรงเรียนนี้ คุณครูกษมาพร เข็มสันเทียะ ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการปฐมวัยแบบโครงงาน (Project-Based Learning) เรื่อง “ปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู” เพื่อให้นักเรียนอนุบาลสามารถเข้าใจ รู้จัก และรับรู้เรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว แบบสะเต็มศึกษา
               รูกษมาพร เล่าว่า ภาคอีสานในแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ในชื่อเรียก “ฮีตสิบสองคลองสิบสี่” ฮีตสิบสอง คือ ประเพณี 12 เดือนของชาวอีสานที่แตกต่างจากประเพณี 12 เดือนหลายประเพณีของภาคอื่น ส่วนคลองสิบสี่ คือ แนววิถีที่ดีที่ควรปฏิบัติ 14 ประการ จึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาถ่ายทอดสู่เด็กๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

          ระยะที่ 1 กิจกรรรมนำไปสู่การเริ่มโครงงาน ครูเล่าเรื่องตำนาน “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” และเล่าเรื่องตำนาน “บุญข้าวจี่” ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนสาม โดยมีคุณตาวิชัย อุปแก้ว วิทยากรท้องถิ่น มาช่วยเล่าร่วมด้วย ครูและเด็กร่วมกันจัดกลุ่มคำถามตรวจสอบความรู้เดิมจากคำถามเพื่อหาคำตอบ เด็กๆ ส่วนใหญ่สนใจเรื่องเกี่ยวกับข้าวจี่ โดยให้เหตุผลว่า อยากลองกินข้าวจี่เหมือนลูกสาวคนเล็กของเจ้าเมืองไผ่เก่า และร่วมกันกำหนดชื่อหัวข้อทำการสืบเสาะหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปั้นข้าวจี่
          ระยะที่ 2 กิจกรรมที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้วย การกระตุ้นให้เด็กร่วมกำหนดวิธีการและวางแผนหาคำตอบ เด็กๆ ช่วยกันคิดหาแนวทางหรือวิธีการสืบเสาะหาคำตอบ เช่น จากสารคดี ตำนานบุญข้าวจี่ หนังสือตำนานของดีอีสาน แผนภูมิรูปภาพการทำข้าวจี่ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต สอบถามผู้รู้ ดูของจริง จากนั้น ได้แบ่งกลุ่มตามความสนใจประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ข้าวจี่ใส่อะไรบ้าง กลุ่มที่ 2 ข้าวจี่มีประโยชน์อย่างไร และกลุ่มที่ 3 ข้าวจี่ทาอย่างไร
          การช่วยเหลือเด็กในการหาคำตอบตามวิธีการหรือแผนที่ร่วมกันกำหนด เด็กๆ กลุ่มที่ 1 มีสมาชิกประกอบด้วย พีใหญ่ ซันเด ณัฐ ต้นกล้า เมฆ เดินทางเข้าไปในหมู่บ้านหน้าโรงเรียนเพื่อสอบถามผู้รู้ คือ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ผู้เฒ่า ผู้แก่ ...ว่าข้าวจี่ใส่อะไรบ้าง ส่วนสมาชิกกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย ฟอง ฟ้าใส โอโม้ แม็ค ยิ้ม บีม ไข่มุก ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ บุญข้าวจี่ที่วัดโพธิ์ชัยโสภณ มีชาวบ้านพากันมาตักบาตรข้าวจี่ในวันเพ็ญเดือนสาม และกลุ่มที่ 3 มี ข้าวฟ่าง การ์ตูน แพรวา เนย ไนท์ ชมพู่ ได้เชิญคุณแม่พิสมัย บุษราคัม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาสอนขั้นตอนการทำปั้นข้าวจี่        
           ระยะที่ 3 กิจกรรมที่เด็กมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อสาร นำเสนอ มีการกระตุ้นให้เด็กร่วมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยได้รวบรวมข้อมูล จากการสืบค้น สัมภาษณ์ สอบถามผู้รู้ ดูของจริง บันทึกคำพูดของเด็กทั้งหมดที่เด็กได้ถามและสนทนากันจนทำให้เกิดองค์ความรู้ เกิดเป็นแผนภูมิที่ 1 ข้าวจี่ใส่อะไรบ้าง แผนภูมิที่ 2 ข้าวจี่มีประโยชน์อย่างไร แผนภูมิที่ 3 ข้าวจี่ทำอย่างไร
            เด็กๆ นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าเรื่องราวของตนเองที่ได้ไปสืบเสาะหาความรู้จนค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง สื่อสาร สะท้อนผลการสืบเสาะหาความรู้ และร่วมกันกำหนดชื่อโครงงานใหม่ว่า “ปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู” จากองค์ความรู้ที่ได้รับครูอยากให้สมาชิกทุกคนทุกกลุ่มสร้างชิ้นงานโดยการออกแบบสร้างผลงานใหม่เป็นรูปแบบที่ตนเองชอบ สร้างแบบจำลอง วาดภาพ ออกแบบ สื่อสาร สะท้อนผลการสืบเสาะหาความรู้ เด็กๆ แสดงบทบาทสมมุติทำข้าวจี่ฝีมือหนูเอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 
          กลุ่มที่ 1 กลุ่มเด็กผู้ชาย เลือกใช้เตาถ่าน ข้อค้นพบของกลุ่มเด็กผู้ชาย คือ ลมจะช่วยให้ไฟติดง่ายขึ้น ใช้ไม้ยาวเสียบจะได้ไม่ร้อนมือ เตาถ่านร้อนมากเกินไปทำให้ข้าวจี่ไหม้ ได้ข้าวจี่หลากหลายรูปแบบ รูปทรง
          กลุ่มที่ 2 กลุ่มเด็กผู้หญิง เลือกใช้เตาปิ้งไฟฟ้า ข้อค้นพบก็คือ ถ้าข้าวจี่สุกก็จะส่งกลิ่นหอมให้รู้ เตาปิ้งไฟฟ้าไม่มีควัน มีปุ่มปรับความร้อน ใช้ไม้เสียบจะง่ายเวลาทาไข่ และไม่ร้อนมือเวลาจับ ความร้อนทำให้ข้าวเหนียวเปลี่ยนเป็นข้าวจี่ (สีคุณลักษณะ รูป รส กลิ่น)
          จากนั้น เด็กๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ปรับปรุงผลงาน จัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน ต่อเพื่อน น้อง คุณครู และผู้ปกครอง
          ในส่วนของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย การสังเกตการกิจกรรม การบันทึกคาถาม คาตอบ คาพูด การบันทึกภาพจากการนาเสนอผลงาน การบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ การแสดงบทบาทสมมติ การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน โครงงานข้าวจี่ฝีมือหนู

          การจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการบูรณาการการเรียนรู้ ตามแนวทาง “สะเต็มศึกษา” (STEM Education : Science Technology Engineering and Mathematics Education) ที่เด็กวัยอนุบาลก็เรียนรู้กันได้ง่ายๆ โดย ด้านวิทยาศาสตร์นั้น มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การตั้งคำถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการสืบเสาะหาคำตอบ ทักษะการคิด การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลและหลากหลาย สามารถค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น