สรุปโทรทัศน์ครู
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ตอน ความลับของใบบัว Cick
กิจกรรม
คุณครูมีใบไม้ให้เด็กๆดู ให้เด็กๆตอบว่าเป็นใบไม้อะไร จากนั้นให้เด็กๆ ลองจับสัมผัสที่ใบบัวว่าเป็นอย่างไร และให้บอกว่าข้างหน้ากับข้างหลังของใบบัวแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
การทดลองที่ 1 ครูหยดน้ำใส่ด้านหลังของใบบัวให้เด็กๆ สังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น จากนั้นให้หงายมาที่ด้านหน้าของใบบัวแล้วหยดน้ำลงไป ให้เด็กๆ สังเกตน้ำที่อยู่บนใบบัวขณะเคลื่อนไหวใบบัวจะเกิดอะไรขึ้น แล้วครูถามเด็กๆ ว่า น้ำซึมเข้าใบบัวไหม แล้วเมื่อเอาน้ำใส่เข้าไปบนใบบัวแล้วใบบัวเปียกไหม
การทดลองที่ 2 ครูเปลี่ยนจากน้ำเป็นน้ำผึ้ง ครูตักน้ำผึ้งใส่ลงไปบนใบบัว ให้เด็กๆ สังเกตว่าน้ำผึ้งที่อยู่บน ใบบัวจะเป็นอย่างไรบ้าง จากนั้นครูเทน้ำผึ้งออกจากใบบัวแล้วให้เด็กๆ สังเกตว่าน้ำผึ้งติดที่ใบบัวไหม
การทดลองที่ 3 ครูหยดนมใส่บนใบบัวให้เด็กๆ สังเกตว่าทำไมใบบัวถึงไม่ยอมเปียก
การทดลองที่ 4 ครูเอาใบไม้ชนิดอื่นมาให้เด็กๆทดลองว่าจะมีคุณสมบัติเหมือนกับใบบัวหรือเปล่า โดยเปลี่ยนจากใบบัวเป็นใบกล้วย ครูหยดน้ำลงไปบนใบกล้วย ให้เด็กๆ สังเกตการเคลื่อนตัวของน้ำบนใบกล้วยว่าเหมือนกับใบบัวไหม
ทั้งนี้เป็นเพราะว่า พื้นผิวของใบบัวมีคุณสมบัติพิเศษทำให้ของเหลวไม่สามารถเกาะที่ใบได้
ความลับอยู่ตรงโครงสร้างขนาดเล็กของพื้นผิวด้านบนของใบบัวมีความขรุขระ มีปุ่มขนาดเล็กๆจำนวนมาก แถมยังปกคลุมด้วยสารที่มีความมัน จึงทำให้ใบบัวมีคุณสมบัติที่ไม่เปียกน้ำ เราเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ ปรากฏการณ์น้ำกลิ้งบนใบบัวหรือ Lotus Effect “ ปรากฏการณ์น้ำกลิ้งบนใบบัวนี้เองที่ทำให้มนุษย์คิดค้นวิธีการทำพื้นผิวที่มีความสามารถในการกันน้ำ เช่น สีทาบ้าน ที่กันน้ำและทำความสะอาดตัวเองได้หรือเสื้อผ้ากันน้ำ
ความลับอยู่ตรงโครงสร้างขนาดเล็กของพื้นผิวด้านบนของใบบัวมีความขรุขระ มีปุ่มขนาดเล็กๆจำนวนมาก แถมยังปกคลุมด้วยสารที่มีความมัน จึงทำให้ใบบัวมีคุณสมบัติที่ไม่เปียกน้ำ เราเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ ปรากฏการณ์น้ำกลิ้งบนใบบัวหรือ Lotus Effect “ ปรากฏการณ์น้ำกลิ้งบนใบบัวนี้เองที่ทำให้มนุษย์คิดค้นวิธีการทำพื้นผิวที่มีความสามารถในการกันน้ำ เช่น สีทาบ้าน ที่กันน้ำและทำความสะอาดตัวเองได้หรือเสื้อผ้ากันน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น