บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 30 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2
อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยให้นักศึกษาทุกคนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
กิจกรรมที่ 1 การจมการลอย
ให้ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปวงกลมขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ดังรูป
เมื่อนำไปหย่อนลงไปในโหล พบว่า ดินน้ำมันลอยน้ำ เนื่องจากดินน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยลง
การทดลองที่ 2 ดอกไม้บาน
จากนั้น พับกลีบดอกไม้เข้ามา ดังรูป
กิจกรรมที่ 3 แรงดันน้ำ
กิจกรรมที่ 6 ปากกาขยาย
การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
สามารถนำความรู้จากการทดลองวิทยาศาสตร์ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนที่จัดให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน จะฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือ รู้จักแบ่งปันสื่งของ และรู้จักการรอคอย
วิธีการสอน ( Teaching methods )
อาจารย์ให้นักศึกษาทดลองวิทยาศาสตร์ด้วยการลงมือปฎิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง มีการใช้คำถาม การยกตัวอย่างประกอบและให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การสังเกต เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดร่วมกัน
การประเมิน ( Evaluation )
อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยให้นักศึกษาทุกคนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
กิจกรรมที่ 1 การจมการลอย
ให้ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปวงกลมขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ดังรูป
จากนั้น ให้แถวที่ 1-2 นำดินน้ำมันออกมาหย่อนลงไปในโหลแก้ว พบว่า ดินน้ำมันจะจมลงไปข้างล่าง เพราะดินน้ำมันมีมวลมากจึงไม่สามารถลอยน้ำได้
ให้แถวที่ 3-4 หาวิธีปั้นดินน้ำมันอย่างไรก็ได้ที่ไม่ทำให้ดินน้ำมันจมน้ำ ดิฉันจึงเลือกปั้นดินน้ำที่มีลักษณะคล้ายแอ่งหรือถ้วยที่มีความบาง
เมื่อนำไปหย่อนลงไปในโหล พบว่า ดินน้ำมันลอยน้ำ เนื่องจากดินน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยลง
การทดลองที่ 2 ดอกไม้บาน
1. ตัดกระดาษให้เป็น 4ส่วนเท่าๆกัน
2. พับกระดาษ 2ทบ
3. วาดรูปดอกไม้กึ่งกลางกระดาษ แล้วใช้กรรไกรตัดตามรอยที่วาด
4. เมื่อคลี่ออกมาจะได้รูปดอกไม้ ดังรูปที่4
ระบายสีตกแต่งดอกไม่ให้สวยงาม ดังรูป
นำดอกไม้มาวางในโหลที่มีน้ำ
ผลการทดลอง (The experimental results)
ถ้าใช้กระดาษแข็ง :: เมื่อวางดอกไม้บนน้ำ กลีบดอกจะค่อยๆคลี่ออก แล้วค่อยๆจมลงน้ำและสีของดอกไม้จะละลายน้ำ
ถ้าใช้กระดาษA4 :: เมื่อวางดอกไม้บนน้ำ กลีบดอกจะคลี่ออกเร็วกว่าการใช้กระดาษแข็งลอย และสีของดอกไม้จะละลายน้ำเป็นเส้น
* น้ำซึมเข้าไปในเยื้อกระดาษ จึงทำให้กระดาษค่อยๆบานออกมาในที่สุด
การทดลอง (trial)
นำขวดพลาสติกมาเจาะรู 3ระดับ (บน กลาง ล่าง) จากนั้น นำเทปกาวมาปิดรูที่เจาะไว้แล้วเทน้ำลงไปให้เต็มขวดแล้วปิดฝาขวด
1.เปิดเทปกาวรูที่ 1 ด้านบนสุดออก พบว่า ถ้าปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหล แต่ถ้าเปิดฝาขวดน้ำจะค่อยๆไหลออกตามรู
2.เปิดเทปกาวรูที่ 2 ตรงกลางออก พบว่า น้ำไหลพุ่งแรกกว่ารูที่1
3.เปิดเทปกาวรูที่ 3 ด้านล่างสุดออก พบว่า น้ำไหลพุ่งแรงกว่ารูที่ 1 และรูที่ 2
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเด็ก
เด็ก ๆ สามารถเรียนเกี่ยวกับปรากฎการณ์ เรื่องความดันน้ำได้หลายอน่าง เช่น เมื่อเปิดก๊อกน้ำไหลออกจากถังเก็บในที่สูงๆ น้ำจะค่อยๆ ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก
กิจกรรมที่ 4 การไหลของน้ำ
การทดลอง (trial)
เจาะรูที่ขวดน้ำ 1 รู ต่อสายยางและให้ปลายสายยางอีกข้างมีภาชนะรองรับน้ำ จะสังเกตได้ว่า ถ้าขวดน้ำอยู่สูงกว่าภาชนะที่รองรับน้ำ น้ำจะพุ่งออกมาคล้ายน้ำพุ แต่ถ้าวางขวดน้ำให้อยู่ต่ำกว่าภาชนะรองรับน้ำ น้ำจะไม่ไหลออกมา
ผลการทดลอง (The experimental results)
น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำและมีแรงดันออกมาเป็นเหมือนน้ำพุ
กิจกรรมที่ 5 แก้วดับเทียน
อุปกรณ์ (equipment)
- แก้วน้ำ
- ไม้ขีดไฟ
- เทียน
- โหลแก้ว
การทดลอง (trial)
1.นำเทียนไขมา 1 แท่ง แก้วน้ำ 1 ใบ ไม้ขีดไฟ 1 กลัก แล้วจุดเทียนให้ติดไฟตั้งไฟไว้ให้มั่นคง
2.นำแก้วน้ำมาครอบเทียนไขที่จุดไว้
ผลการทดลอง (The experimental results)
จะพบว่า เมื่อเรานำแก้วมาครอบเทียนไข เปลวไฟจะค่อยๆหรี่ลงๆ จนในที่สุดเทียนไขจะดับ เพราะในอากาศมีออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติช่วยที่ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไปเทียนจะสามารถส่องสว่างต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่ง จนเมื่อออกซิเจนถูกเผาไหม้หมด เทียนไขก็จะดับลงทันที
Example VDO การทดลอง
การทดลอง (trial)
1.เทน้ำใส่แก้ว
2.เอาปากกาใส่ลงไปในแก้วน้ำ
ปรากฎการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสง
1. การมองเห็นวัตถุที่อยู่ในน้ำหักงอ เช่น เห็นหลอดหรือช้อนที่อยู่ในแก้วน้ำมีลักษณะหักงอผิดความจริง
2. การมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ำอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง เช่น เวลามองปลาที่อยู่ในน้ำ จะมองเห็นว่าปลาอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง
3. เมื่อมองวัตถุผ่านน้ำไปยังอากาศ จะเห็นวัตถุอยู่ไกลกว่าความเป็นจริง
การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
สามารถนำความรู้จากการทดลองวิทยาศาสตร์ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนที่จัดให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน จะฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือ รู้จักแบ่งปันสื่งของ และรู้จักการรอคอย
วิธีการสอน ( Teaching methods )
อาจารย์ให้นักศึกษาทดลองวิทยาศาสตร์ด้วยการลงมือปฎิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง มีการใช้คำถาม การยกตัวอย่างประกอบและให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การสังเกต เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดร่วมกัน
การประเมิน ( Evaluation )
- Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟัง ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์และจดบันทึกตาม
- Friends-Evaluation : แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและมีน้ำใจในการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
- Teacher-Evaluation : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสนุกสนานกับกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น