วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 6 
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 25 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

           อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ก่อนเข้าสู่บทเรียน
อุปกรณ์ ( Equipment )
1. กระดาษ ( paper )
2. กรรไกร ( Scissors  )
3. คลิปหนีบกระดาษ ( Paperclip )

วิธีทำ ( How to )

ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วพับครึ่งกระดาษ ดังรูป



เลือกตัดกระดาษจากฝั่งใดฝั่งหนึ่งถึงครึ่งกระดาษที่พับไว้  ดังรูป


พับปลายกระดาษฝั่งที่ไม่ได้ตัดขึ้นมาเล็กน้อย ดังรูป


ใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบด้านที่พับกระดาษ  ดังรูป


วิธีเล่น  
ให้โยนกระดาษขึนข้างบนแล้วสังเกตการตกลงสู่พื้นของกระดาษขณะโยน 

          จากกิจกรรม จะเห็นได้ว่ากระดาษจะค่อยๆ หมุนลงมาเป็นวงกลมเหมือนลูกยางและตกลงสู่พื้น ได้รับความรู้ คือ ได้เรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วง แรงต้านทาน ได้สังเกตลักษณะการโยน การหมุนของกระดาษ และได้รู้วิธีการโยนว่าโยนในลักษณะไหนกระดาษจึงจะหมุนเร็วขึ้น




บทความวิทยาศาสตร์ Science articles )
บทความที่ 1  : เรื่อง  แสงสีกับชีวิตประจำวัน  Cick
บทความที่ 2  : เรื่อง  เงา...มหัศจรรย์ต่อสมอง  Cick
บทความที่ 3  : เรื่อง  สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  Cick
บทความที่ 4  : เรื่อง  วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย  Cick
บทความที่ 5  : เรื่อง  การทดลองทางวิทยาศาสตร์  Cick


สรุปบทความวิทยาศาสตร์


       
             Mind Map แผนการสอนของแต่ละกลุ่ม 
หน่วยไก่ กล้วย นม มะพร้าว ผลไม้ ต้นไม้ กบ ข้าว ปลา และน้ำ



Mind Map 
เรื่อง ไก่ (Chicken)



วิธีการสอน ( Teaching methods )
         การสอนใช้การตั้งคำถามและใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษารู้จักวิธีการสังเกต การคิดวิเคราะห์ และลงมือประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองเพื่อกระตุ้นทักษะการคิดทำให้เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติ

การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
          สามารถนำสื่อที่ทำในวันนี้ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ เพราะเป็นสื่อที่เด็กสามารถทำเองได้ มีขั้นตอนที่ง่ายและไม่ซับซ้อน 


การประเมิน ( Assessment )
  • ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและจดบันทึกตาม
  • เพื่อน : บางคนเข้าเรียนสายบ้างเล็กน้อย แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและจดบันทึก
  • อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำก่อนเข้าสู่บทเรียนและมีคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องการเขียนแผนของแต่ละวันและนำไปแก้ไขได้ถูกต้อง


วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 5 
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 18 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

       อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
อุปกรณ์ ( Equipment )
1. กระดาษแข็ง ( paper )
2. ไม้เสียบลูกชิ้น
3. กรรไกร ( Scissors )
4. เทปกาว
5. สีเมจิ

วิธีทำ ( How to )
1. ตัดกระดาษออกเป็น 4ส่วน
2. พับครึ่งกระดาษแล้ววาดรูปที่สัมพันธ์กันทั้ง 2ด้าน แล้วระบายสีให้สวยงาม


3. นำไม้เสียบลูกชิ้นวางทาบด้านในของกระดาษแล้วติดเทปกาวให้แน่น 


4. นำเทปกาวมาติดด้านข้างของขอบกระดาษ


วิธีการเล่น
จับตรงไม้เมื่อหมุนด้วยความเร็ว จะเห็นได้ว่า  ผลไม้อยู่ในถ้วย

     
           จากกิจกรรมเด็กจะได้ฝึกจินตนาการความคิดสร้างสรรค์จากการวาดรูปและฝึกการสังเกตจากการหมุนที่ทำให้เกิดเป็นภาพที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน

บทความวิทยาศาสตร์  ( Science articles )

บทความที่ 1   เรื่อง : เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ "สะเต็มศึกษา" ผ่านโครงงานปฐมวัย  Cick

บทความที่ 2  เรื่อง : โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร? Cick



บทความที่ 3  เรื่อง : บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์  Cick


วิธีการสอน ( Teaching methods )
       การสอนที่ใช้การตั้งคำถามและใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดร่วมกัน เป็นการดึงการมีส่วนร่วมและประสบการณ์เดิมมาใช้

การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
         สามารถนำความรู้จากบทความที่เพื่อนๆนำเสนอและสื่อที่ทำในวันนี้ ไปต่อยอดในการเรียนการสอนได้

การประเมิน ( Assessment )
  • ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน
  • เพื่อน แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม ไม่คุยกันเสียงดัง
  • อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำก่อนเข้าสู่บทเรียนและมีคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในบทความที่นำเสนอมากยิ่งขึ้น


วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 4 
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 11 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 233 อาคาร 2

         อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอบทความที่ได้มอบหมาย ออกมานำเสนอสัปดาห์ละ 5 คน

บทความที่ 1  เรื่อง : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  Cick




บทความที่ 2  เรื่อง : 5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล  Cick 



บทความที่ 3  เรื่อง : อพวช. ผนึกพันธมิตรจัดงาน "วันนักวิทยาศาสตร์น้อย" หวังปลูกความรักวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย  Cick 



บทความที่ 4  เรื่อง : สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน (Teaching Children about Global Warming)  Cick



       เมื่อเพื่อนๆ นำเสนอบทความคนบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็เริ่มสอนเข้าสู่บทเรียน ดังรูป



วิธีการสอน ( Teaching methods )
       การสอนที่ใช้การตั้งคำถามและให้นักศึกษาช่วยกันแสดงความคิดร่วมกัน เพื่อดึงการมีส่วนร่วมและประสบการณ์เดิมมาใช้ในการตอบคำถาม 

การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
         สามารถนำความรู้จากบทความที่เพื่อนๆนำเสนอ ไปปรับใช้ในวันข้างหน้าได้

การประเมิน ( Assessment )
  • ตนเอง : มาเรียนสายเล็กน้อย แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน
  • เพื่อน : แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ไม่คุยกันในขณะที่นำเสนอบทความ
  • อาจารย์ : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในบทความที่นำเสนอมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 3 
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 4 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 233 อาคาร 2

รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
      คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ ( Pavlov )

          ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข

ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลายๆครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) 

        การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์

ภาพ แสดงผลการทดลอง

             Pavlovพบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจะหลั่งน้ำลายหลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้สิ่งเร้าคือ อาหารเป็นสิ่งเร้าที่แท้จริง หรือ สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข ( unconditioned stimulus ) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือ สิ่งเร้ามีเงื่อนไข ( conditioned stimulus )

ก่อนวางเงื่อนไข

 ขณะวางเงื่อนไข

หลังจากวางเงื่อนไข

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ( การทดลองของ Watson )
- ความรู้สึกบางอย่างมีมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ฯลฯ
การทดลองของWatson
        วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคน โดยใช้เด็กชาย Albert อายุประมาณ 2 ขวบ โดยที่เขาให้ข้อสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นมาอย่างกะทันหัน จุดประสงค์ของการทดลองคือการให้ Albert เอื้อมมือจะจับหนู Watson ใช้ค้อนตีเหล็กเสียงดังสนั่น เด็กแสดงอาการตกใจกลัว หลังจากนั้น เด็กแสดงอาการกลัวหนูถึงแม้ไม่ได้ยินเสียงฆ้องตีดังๆ ก็ตาม ในสถานการณ์เช่นรี้เด็กเกิดการเรียนรู้ชนิดเชื่อมโยงระหว่างเสียงดัง ซึ่งทำให้เด็กเกิดความกลัวขึ้นตามธรรมชาติกับหนู
        จากการทดลองของ Watson ปรากฎว่า Albert มิได้กลัวแต่เพียงหนูเท่านั้น แต่จะกลัวสัตว์มีขนทุกชนิด รวมทั้งเสื้อที่มีขนด้วย ความสำเร็จครั้งนี้ของวัตสัน ทำให้เขาคิดว่าเขาจะสามารถควบคุมพฤติกรรมทุกชนิดของคนได้



หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
นัการศึกษา / หลักการ แนคิด

กีเซลล์ (Gesell)
  • พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
  • การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
  • จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ฝึกการใช้มือและประสาทสัมพันธ์มือกับตา
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำ
ฟรอยด์ ( Freud )
  • ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพีงพอจะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าที วาจา
  • จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
อิริคสัน ( Erikson )
  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
เพียเจท์ ( Piaget )
  • พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
  • พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( 0-6ปี )
         1) ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว วัย 0-2ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
         2) ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2-6ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
  • จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวและมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
ดิวอี้ ( Dewey )
  • เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
    • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
    • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
    สกินเนอร์ ( Skinner )
    • ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
    • เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
    การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
    • ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
    • ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
    เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi )
    • ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
    • เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
    • เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
    การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
    • จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
    เฟรอเบล ( Froeble )
    • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่างเสรี
    • การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
    การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
    • จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
    เอลคายน์ ( Elkind )
    • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เด็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
    • เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
    การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
    • จัดบรรยายกาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
    การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

             สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
             พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล ยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน

    วิธีการสอน ( Teaching methods )
           การใช้ powerpoint ในการสอน และให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชั้นเรียน

    การนำไปประยุกต์ใช้ ( Applications )
           นำความรู้เรื่องแนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติการพัฒนาเด็ก ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในวันข้างหน้าได้  

    การประเมิน ( Assessment )
    • ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
    • เพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่แต่งการถูกระเบียบ จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีผิดระเบียบบ้างเล็กน้อย
    • อาจารย์ : แต่งการสุภาพเรียบร้อย มีการสอนโดยใช้ powerpoint ที่มีเนื้อหาไม่มากเกินไป ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ

    วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

    สัปดาห์ที่ 2 
    บันทึกอนุทิน
    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
    วัน/เดือน/ปี 28 สิงหาคม พ.ศ.2557
    ครั้งที่ 2 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
    เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 233 อาคาร 2

        เด็กปฐมวัย (children) หมายถึง เด็กแรกเกิด ถึง 5ปี11เดือน29วัน 
    1. พฤติกรรม
    2. การเรียนรู้การเล่นของเด็ก
    3. การอบรมเลี้ยงดู
    พัฒนาการ (Development)
           การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทั้ง 4 ด้าน โดยเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
           * พัฒนาการเป็นการบอกความสามารถของเด็ก
    การับรู้ (Perceived)  
          แรกเกิดถึง 2ปี โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 รับรู้ไปยังสมอง
          * ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
    วิธีการเรียนรู้ 
         ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ลงมือกระทำกับวัตถุหรือกิจกรรมด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 แบ่งเป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการ

    วิทยาศาสตร์ (Science)
          หมายถึง ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งที่อยู่รอบตัวและตัวตนของตนเอง ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่เกิดซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามสิ่งต่าง ๆ
          * วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวทั้งหมด

         ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก
    - ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจ       กับคำถาม
    - ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็ก ๆ
    - ไม่จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด    ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

        ทบทวนบทบาท
    - ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้
    - ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้     ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก
    - เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพกเขาโดยการให้ความสนใจกับ           คำถาม
    - ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็ก ๆ
    - จัดประสบการณ์เรียนที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่       ถูกต้องให้เด็กอย่างเหมาะสม

    mind map



    วิธีการสอน (Teaching methods)
          การใช้คำถาม เพื่อดึงการมีส่วนร่วมและประสบการณ์เดิมมาใช้ในการตอบคำถาม

    การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
           สามารถนำความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก

    การประเมิน (Assessment)
    • ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ส่งงานตรงต่อเวลา
    • เพื่อน : มีมาสายบ้างเล็กน้อย แต่งกายถูกระเบียบ และตั้งใจเรียนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างอาจารย์กับผู้เรียน
    • อาจารย์ : ข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการเตรีมเนื้อหามาสอนเป็นอย่างดี

    วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

    สัปดาห์ที่ 1 
    บันทึกอนุทิน
    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
    วัน/เดือน/ปี 21 สิงหาคม พ.ศ.2557
    ครั้งที่ 1 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
    เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 233 อาคาร 2


              วันนี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน อาจารย์ได้แจกแนวการสอน(Course Syllabus) และอธิบายรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 

    1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 
        มีความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิด     ชอบ เคารพกฎระเบียบ มีสัมมาคารวะให้ความเคารพต่อครู อาจารย์     และผู้อาวุโส


    2. ด้านความรู้ 
         อธิบายหลักการ ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะ        ทางวิทยาศาสตร์ ออกแบบ เขียนแผน วิเคราะห์และเลือก สื่อ              อุปกรณ์ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    3. ด้านทักษะทางปัญญา 
        คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ ประยุกต์ความรู้เพื่อนำ        ไปใช้ในการออกแบบวางแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์          สำหรับเด็กปฐมวัย

    4. ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 
         ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารและนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสม         ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ รับผิดชอบในผลงานของตนเองและ            กลุ่ม

    5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้  เทคโนโลยีสารสนเทศ
         มีทักษะการใช้เครื่องมือเพื่อการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ สามารถ        ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนออย่างมี                ประสิทธิภาพ

    6. ด้านการจัดการเรียนรู้
         วางแผน ออกแบบ ปฎิบัติการสอน การวัดประเมินผลการเรียนรู้            และเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ 

             นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงแผนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงกฎกติกาข้อตกลงต่างๆ ภายในชั้นเรียน  อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ blogger และได้อธิบายองค์ประกอบสำคัญเพื่อนำไปใส่ลงใน blogger ได้อย่างถูกต้อง                                                                              โดยการเขียนบล็อกนั้นควรเน้นเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย

    วิธีการสอน (Teaching methods)
             ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย และการยกตัวอย่างประกอบการสอน

    การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
             สามารถนำรายละเอียดจาก Course Syllabus มาอ่านทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่ต้องใช้ในการเรียนการสอนของแต่ละสัปดาห์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนระดับหนึ่ง และสามารถนำความรู้ จากการทำ blogger ไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในวันข้างหน้าได้  

    การประเมิน (assessment)
    • ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ถอดรองเท้าเป็นระเบียบ และตั้งใจเรียน
    • เพื่อน :  สัปดาห์แรกเพื่อนบางคนก็มีมาสายบ้างเล็กน้อย แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายรายวิชา  มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชั้นเรียน
    • อาจารย์  :  อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และมีการเตรียมเนื้อหามาสอนเป็นอย่างดี