บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 4 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 233 อาคาร 2
รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลายๆครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์
รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ ( Pavlov )
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลายๆครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์
ภาพ แสดงผลการทดลอง
Pavlovพบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจะหลั่งน้ำลายหลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้สิ่งเร้าคือ อาหารเป็นสิ่งเร้าที่แท้จริง หรือ สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข ( unconditioned stimulus ) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือ สิ่งเร้ามีเงื่อนไข ( conditioned stimulus )
ก่อนวางเงื่อนไข
ขณะวางเงื่อนไข
หลังจากวางเงื่อนไข
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ( การทดลองของ Watson )
- ความรู้สึกบางอย่างมีมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ฯลฯ
การทดลองของWatson
วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคน โดยใช้เด็กชาย Albert อายุประมาณ 2 ขวบ โดยที่เขาให้ข้อสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นมาอย่างกะทันหัน จุดประสงค์ของการทดลองคือการให้ Albert เอื้อมมือจะจับหนู Watson ใช้ค้อนตีเหล็กเสียงดังสนั่น เด็กแสดงอาการตกใจกลัว หลังจากนั้น เด็กแสดงอาการกลัวหนูถึงแม้ไม่ได้ยินเสียงฆ้องตีดังๆ ก็ตาม ในสถานการณ์เช่นรี้เด็กเกิดการเรียนรู้ชนิดเชื่อมโยงระหว่างเสียงดัง ซึ่งทำให้เด็กเกิดความกลัวขึ้นตามธรรมชาติกับหนู
จากการทดลองของ Watson ปรากฎว่า Albert มิได้กลัวแต่เพียงหนูเท่านั้น แต่จะกลัวสัตว์มีขนทุกชนิด รวมทั้งเสื้อที่มีขนด้วย ความสำเร็จครั้งนี้ของวัตสัน ทำให้เขาคิดว่าเขาจะสามารถควบคุมพฤติกรรมทุกชนิดของคนได้
วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคน โดยใช้เด็กชาย Albert อายุประมาณ 2 ขวบ โดยที่เขาให้ข้อสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นมาอย่างกะทันหัน จุดประสงค์ของการทดลองคือการให้ Albert เอื้อมมือจะจับหนู Watson ใช้ค้อนตีเหล็กเสียงดังสนั่น เด็กแสดงอาการตกใจกลัว หลังจากนั้น เด็กแสดงอาการกลัวหนูถึงแม้ไม่ได้ยินเสียงฆ้องตีดังๆ ก็ตาม ในสถานการณ์เช่นรี้เด็กเกิดการเรียนรู้ชนิดเชื่อมโยงระหว่างเสียงดัง ซึ่งทำให้เด็กเกิดความกลัวขึ้นตามธรรมชาติกับหนู
จากการทดลองของ Watson ปรากฎว่า Albert มิได้กลัวแต่เพียงหนูเท่านั้น แต่จะกลัวสัตว์มีขนทุกชนิด รวมทั้งเสื้อที่มีขนด้วย ความสำเร็จครั้งนี้ของวัตสัน ทำให้เขาคิดว่าเขาจะสามารถควบคุมพฤติกรรมทุกชนิดของคนได้
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
นัการศึกษา / หลักการ แนคิด
กีเซลล์ (Gesell)
- พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
- การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
- จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
- ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
- จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ฝึกการใช้มือและประสาทสัมพันธ์มือกับตา
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำ
- ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพีงพอจะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าที วาจา
- จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
- จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
- ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
- ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
- จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
- พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
- พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( 0-6ปี )
2) ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2-6ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ
- จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
- จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวและมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
- เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
- จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
- ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
- เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
- ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
- ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
- ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
- เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
- เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
- จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
- ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่างเสรี
- การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
- จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
- การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เด็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
- เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
- จัดบรรยายกาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล ยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
วิธีการสอน ( Teaching methods )
การใช้ powerpoint ในการสอน และให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชั้นเรียน
การนำไปประยุกต์ใช้ ( Applications )
นำความรู้เรื่องแนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติการพัฒนาเด็ก ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในวันข้างหน้าได้
การประเมิน ( Assessment )
- ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
- เพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่แต่งการถูกระเบียบ จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีผิดระเบียบบ้างเล็กน้อย
- อาจารย์ : แต่งการสุภาพเรียบร้อย มีการสอนโดยใช้ powerpoint ที่มีเนื้อหาไม่มากเกินไป ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น