บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 16 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2
กังหันไฟฟ้าสถิต
( Electrostatic Fan )
การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
สามารถนำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆ Present ในวันนี้ ไปต่อยอดในการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเองให้มีความหลากหลายความแปลกใหม่ และเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เหลือใช้มาใช้ในการประดิษฐ์ของเล่น ทำให้เด็กรู้จักคุณค่าของวัสดุเหลือใช้ที่อาจพบเจอที่บ้านหรือรอบๆตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังช่วยให้ประหยัดอีกด้วย ควรเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่ให้เด็กทำเองได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
วิธีการสอน ( Teaching methods )
การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อดึงดึงการมีส่วนร่วมและประสบการณ์เดิมมาใช้ในการตอบคำถาม ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ สังเกต ลงมือประดิษฐ์สื่อการสอนด้วยตนเอง และสอนให้นักศึกษาได้คิดอย่างเป็นระบบ
การประเมิน ( Assessment )
อาจารย์ให้นักศึกษา Present ของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเอง
กังหันไฟฟ้าสถิต
( Electrostatic Fan )
อุปกรณ์ ( Equipment )
1 กะดาษ ( paper )
2. กรรไกร ( scissors )
3. ดินสอ ( pencil )
4. ลูกโป่ง ( balloon )
5. ดินน้ำมัน ( clay )
วิธีทำ ( How to )
1. เตรียมกระดาษ 1 แผ่น
2. พับครึ่งกระดาษ จำนวน 2 ครั้ง ดังรูป
3. พับมุมบนลงมาแล้วตัดกระดาษส่วนที่เกินออก ดังรูป
4. เมื่อคลี่ออกมาจะเป็นรูปสีเหลี่ยมจตุรัส ดังรูป
5. ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้เป็นมุมแหลม ดังรูป
6. เมื่อตัดกระดาษเสร็จแล้วจะได้ออกมาเป็นแบบนี้
7. เมื่อคลี่ออกจะได้เป็นรูปดาวสี่แฉก ดังรูป
8. วาดรูประบายสีตกแต่งดินสอให้สวยงาม
9. นำดระดาษมาตัดเป็นหญ้าแล้วแปะไว้กับดินน้ำมัน เพื่อให้ดูสวยงาม
10. ปักดินสอลงบนก้อนดินน้ำมันให้ปลายแหลมชี้ขึ้นข้างบน
แล้ววางดาวกระดาษบนปลายดินสอ
11. เป่าลูกโป่งขนาดพอดี
วิธีการเล่น ( How to play )
ใช้มือจับลูกโป่งถูกับผมประมาณ 5 ถึง 10 ครั้ง
แล้วนำลูกโป่งมาหมุนรอบดาวกระดาษอย่างช้า ๆ
ระวังอย่าให้ลูกโป่งแตะดาวกระดาษ
หลักการทางวิทยาศาสตร์
( Scientific principles )
เมื่อถูลูกโป่งกับผมลูกโป่งจะมีประจุลบเพิ่มขึ้น
ลูกโป่งที่มีประจุลบจะผลักประจุลบบนดาวกระดาษด้านใกล้
ให้ไปอยู่ด้านไกลทำให้แขนของดาวกระดาษที่อยู่ใกล้ลูกโป่ง
มีประจุบวก เมื่อย้ายลูกโป่งไปรอบๆ ประจุลบบนลูกโป่งจะดึง
ดูดประจุบวกบนแขนดาวด้านใกล้ทำให้ดาวกระดาษหมุนตาม
ผลงานสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของเพื่อน ๆ
สามารถนำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆ Present ในวันนี้ ไปต่อยอดในการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเองให้มีความหลากหลายความแปลกใหม่ และเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เหลือใช้มาใช้ในการประดิษฐ์ของเล่น ทำให้เด็กรู้จักคุณค่าของวัสดุเหลือใช้ที่อาจพบเจอที่บ้านหรือรอบๆตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังช่วยให้ประหยัดอีกด้วย ควรเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่ให้เด็กทำเองได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อดึงดึงการมีส่วนร่วมและประสบการณ์เดิมมาใช้ในการตอบคำถาม ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ สังเกต ลงมือประดิษฐ์สื่อการสอนด้วยตนเอง และสอนให้นักศึกษาได้คิดอย่างเป็นระบบ
การประเมิน ( Assessment )
- ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ การนำเสนออาจจะมีพูดติดๆขัดๆบ้างในบ้างครั้ง
- เพื่อน : แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน นำเสนอผลงานได้ดีกันทุกคนและสิ่งประดิษฐ์มีความสวยงาม
- อาจารย์ : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์แต่ละชิ้น เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดในวันข้างหน้าได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น