วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิจัยที่เหลือ 1 เรื่อง ดังนี้

ชื่อวิจัย : การส่งเสริมทักศะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย  
( The promotion of science and the conclusion for children )



         จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มทำกิจกรรม กลุ่มละ 5 คน ทำแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ชี้แจงการสอนหน่วย ไก่

ขั้นตอนการทำแผ่นพับ

1.ส่วนด้านนอก  ประกอบด้วย

ภาพที่ 1 (หน้าปก)
  • ตราโรงเรียน
  • ชื่อโรงเรียน
  • ชื่อหน่วย
  • รูปภาพเกี่ยวกับหน่วยที่สอน
  • ชื่อนักเรียนและครูประจำชั้น
ภาพที่ 3 (หน้าหลังสุด) 
  • เกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน เช่น เพลง คำคล้องจอง เกมจับคู่ เกมภาพตัดต่อ เป็นต้น ควรเป็นเกมที่ผู้ปกครองสามารถนำไปใช้เล่นกับลูกได้


2. ส่วนด้านใน ประกอบด้วย
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • วัตถุประสงค์
  • สาระการเรียนรู้
  •  เพลง คำคล้องจอง ที่เกี่ยวกับหน่วยที่สอน


การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       จากการออกแบบแผ่นพับ ทำให้ได้รู้เทคนิคในการเขียนที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสามารถนำวิธีการเขียนแผ่นพับไปใช้ในอนาคตได้ สามารถนำไปเป็นสื่อในการส่งข่าวประชาสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้เรื่องเด็กได้เรียนในแต่ละครั้ง

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       -  การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นทักษะการคิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดร่วมกัน เป็นการดึงการมีส่วนร่วมและประสบการณ์เดิมมาใช้
       -  การบูรณาวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็ก
       -  ให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเองและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
       -  การสรุปความรู้ต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ในการทำงานกลุ่มในวันนี้มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มโดยการแสดงความคิดเห็นในส่วนต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม
  • Friends-Evaluation แต่งกายถูกระเบียบ ในวันนี้เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี ทุกกลุ่มมีความตั้งใจช่วยกันคิดวิธีการเขียนแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนให้มีความน่าสนใจและถูกต้องเหมาะสม
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้แนะนำวิธีการทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนของแต่ละกลุ่มได้ละเอียดและชัดเจน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถทำแผ่นพับออกมาได้สมบูรณ์ อาจมีข้อบกพร่องในการเขียนบ้างแต่จะนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเขียนให้ดีขึ้นค่ะ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน พฤหัสเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


นำเสนอวิจัย
1. การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
3. การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
4. ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย


สรุปเป็น Mind Map  ดังนี้



นำเสนอโทรทัศน์ครู
1.จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนเสียงมาจากไหน 
2.สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3.เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
4.กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
5.สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6.ขวดปั๊มและลิปเทียน
7.สื่อแสงแสนสนุก
8.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
9.ทะเลฟองสีรุ้ง
10.สาดสีสุดสนุก
11.ทอนาโดมหาภัย
12.ไข่ในน้ำ
13.ความลับของใบบัว


สรุปเป็น Mind Map  ดังนี้



การนำไปประยุกต์ใช้ ( Application )
       สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้หรือสามารถนำความรู้จากกิจกรรมไปบูรณาการเข้ากับรายวิชาอื่นได้  สามารถประยุกต์การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และดัดแปลงสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

วิธีการสอน ( Teaching methods )
       ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์และการสังเกต การวิเคราะห์  ให้คำแนะนำวิธีการดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดหรือบูรณาการในรายวิชาอื่นได้

การประเมิน ( Evaluation )
  • Self -Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะเพื่อนนำเสนอวิจัย โทรทัศน์ และเข้าใจในกิจกรรมที่เพื่อนนำมาเสนอ
  • Friends-Evaluation : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  มีการเตรียมการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูมาเป็นอย่างดี ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนาน
  • Teacher-Evaluation เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและสามารถนำไปบูรณาการการเรียนการสอนกับรายวิชาอื่นได้